โดย : พรทิพา สิงห์แก้ว
29 ก.ย. 2564, 11:21
เนื่องจากพื้นที่ตำบลบ้านหวด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หาของป่า ค้าขาย และรับราชการเป็นบางส่วน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ประชาชนในพื้นที่ได้มีการปลูกไผ่ หลากหลายชนิด เช่นไผ่ตง ไผ่ซางนวล ไผ่รวก และไผ่ซางหม่นฯลฯ มากกว่า 1,500 ไร่ประชาชนส่วนใหญ่จะทำการตัดไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขายเป็นลำต้นในฤดูฝนจะมีหน่อไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ออกเป็นจำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่บางส่วนได้ทำการขุดหน่อไม้ดิบขายทั้งเปลือก คณะผู้จัดทำได้เล็งถึงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ทรัพยากรฯ อย่างคุ้มค่า จึงได้ส่งเสริมการแปรรูปหน่อไม้หลากหลายชนิด เช่น หน่อไม้แกะสด หน่อไม้ลวก หน่อไม้ต้ม หน่อไม้ดอง และหน่อไม้เส้นตากแห้ง ฯลฯ และได้นำหน่อไม้แปรรูปดังกล่าวมาทำการอัดถุงสุญญากาศโดยเครื่องซีลสูญญากาศขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการถนอมอาหารที่ดีที่สุด เก็บไว้ได้นานที่สุด ไม่มีเชื้อโรค กลิ่น สารปนเปื้อน และสารกันบูด ทุกชนิด ส่งผลให้เกิดอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในชุมชนและเกิดการค้าขายสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชนที่รวมกลุ่มในการแปรรูปหน่อไม้ ดังกล่าว
ขั้นตอนในการผลิตหน่อไม้เนื้อทอง
1.เก็บหน่อไม้สดจากสวน ตัดหัว-หาง ออกให้ได้ขนาด 1 คืบ และล้างทำความสะอาด
2.นำไปลวก 10 – 20 นาที
3.ปอกเปลือก และตกแต่งหน่อไม้
4.นำมาล้างทำความสะอาดอีก 1 รอบ แล้วใส่ตะกร้าเพื่อสะเด็ดน้ำ
5.นำไปบรรจุลงถุงซีล ขนาด 6×10 แล้วชั่งให้ได้น้ำหนัก ให้ได้ 500 กรัม
6.นำหน่อไม้ที่บรรจุแล้วไปซีล ในเครื่องสุญญากาศ
7.นำไปนึ่งเป็นเวลา 3 ชั่วโมง
8. เมื่อนึ่งแล้วนำมาพักให้หายร้อน นำหน่อไม้จัดเรียงในพื้นที่ ที่มีอากาศถ่ายเท
ภาพกิจกรรม การอบรมหน่อไม้เนื้อทอง
วันที่ 1 กันยายน 2564
วันที่ 2 กันยายน 2564
วันที่ 3 กันยายน 2564
วันที่ 4 กันยายน 2564
0 Comments