เตรียมพบกับ Esports Tourtnament ในรายการ U2T Esports สุดยิ่งใหญ่ !!พร้อมชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท

เตรียมพบกับการแข่งขัน Esports Tourtnament ในรายการ U2T Esports สุดยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น !!พร้อมชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท


เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2564 – 5 พฤศจิกายน 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.u2t.ac.th
เตรียมฟอร์มทีมมาให้ดี แล้วมาระเบิดความมันส์ไปพร้อมกัน !!!!


***ใครที่อยากร่วมสนุกกับกิจกรรมแต่ยังไม่มีอีเมล @u2t.ac.th ติดต่อได้ที่หน้าติดต่อเราได้เลยนะครับ

ข่าวสาร

กระทรวง อว.เปิดโรดแมป “โครงการ U2T”พัฒนาทักษะผู้ได้รับการจ้างงานผ่านระบบออนไลน์ก่อนทยอยลงพื้นที่จริง!

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว.ได้จัดวางโรดแมปโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เบื้องต้น โดยด้านการจ้างงาน เริ่มจ้างงาน 60,000 คน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564ที่ผ่านมา และประมาณ 15,000 คน เริ่มการพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านภาษาอังกฤษ และด้านสังคม ซึ่งตามแผนงานจะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้แล้วเสร็จภายใน ต.ค.2564 ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า ด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคม แต่ละมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.พ.2564 และจะทบทวน ปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ ให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยแบ่งเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยจะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จะมีการดำเนินการแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน คาดจะเริ่มดำเนินการ มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ โดยการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดจะจัดในเดือน พ.ย.2564

โครงการ U2T” ติดอาวุธทางปัญญาจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วประเทศ

“โครงการ U2T เป็นการช่วยเหลือลูกหลานชาวบ้าน 6 หมื่นคน ให้มีงานทำในภาวะวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน จะสร้างคน 6 หมื่นคนด้วยทักษะใหม่ ให้เป็นคนที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทย จาก 3 พันตำบล สู่อำเภอ สู่จังหวัดและทั่วทุกภูมิภาค” U2T เป็นโครงการจ้างงาน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน 60,000 คน ให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้า โดยดำเนินการ 1 ปี สำหรับโรดแม็ปของโครงการ U2T ขณะนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เริ่มพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆผ่านระบบออนไลน์ ทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะด้านการเงิน ภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม รวมทั้งทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับงานพัฒนาชุมชน พร้อมๆกับการจัดทำข้อมูลชุมชน ข้อมูลตำบลใน 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของตำบลนั้นๆ ในการใช้ทำแผนการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ โดยข้อมูลจะมีทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านชุมชนเมืองของตำบล เป็นต้น

อว. คลอด โรดแมป"โครงการ U2T” เริ่มจ้างงานแล้วกว่า 6 หมื่นคน

นายศุภชัย กล่าวว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากการทำข้อมูลประสิทธิภาพและศักยภาพตำบลแล้ว ยังจะมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่สะท้อนประสิทธิภาพและศักยภาพตำบล เพื่อจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มข้อมูลด้านการท่องเที่ยว กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลุ่มข้อมูลด้านชุมชนเมือง ของตำบล เป็นต้น ทั้งนี้จะทำการจัดเก็บข้อมูลลง DATA LAKE ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ตุลาคมนี้ ส่วนด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ และจะมีการทบทวนและปรับปรุงแผนเป็นระยะๆให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยกิจกรรมต่างๆนั้น จะแบ่งเป็นกรอบใหญ่ๆ เช่น กิจกรรมในด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนี้ จะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย “นอกจากนี้ภายใต้ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล จะมีการดำเนินการที่เรียกว่าแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานจะนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน ซึ่งคาดว่าเริ่มดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ และการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2564” รองปลัด อว.กล่าว

อว.ส่ง 60,000 นักศึกษา-ประชาชนลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า U2T เป็นโครงการที่สร้างอนาคตให้กับ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างอนาคต สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับนักศึกษาและประชาชน 60,000 คนที่ อว.จ้างงาน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี 30,000 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 15,000 คน และประชาชนอีก 15,000 คน "โดยเริ่มส่งคนจำนวน 60,000 คนสู่ 3,000 ตำบล ในวันที่ 1 ก.พ. 2564 หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 10,000 ล้านบาทให้ อว. ไปจ้างงานเมื่อปลายปี 2563 เพื่อทำให้การว่างงานทุเลาลง พร้อมกับสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้ได้รับการจ้างงานทั้ง 60,000 คน และที่สำคัญให้คนรู้ว่าบัดนี้มหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว สำหรับโครงการนี้จะมีการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน" รมว.อว.กล่าว

อว.เปิดตัวโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

อว.ส่ง 60,000 นักศึกษา-ประชาชนลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน 3,000 ตำบล พร้อม 76 มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลทำบิ๊กดาต้าให้ประเทศ “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.อว.ลั่นพามหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว เตรียมขอ ครม. อีก 4,900 ตำบลให้ครบ 7,900 ตำบลทั่วประเทศ รมว.อว. กล่าวต่อว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มีเป้าหมาย 3 ประการ ประการแรก พัฒนาคน โครงการนี้ถือเป็นครั้งแรกประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชนลงไปทำงานชุมชนพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเดือนแรกต้องรีบทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทันที เมื่อจะรบแล้วต้องชนะ เพราะสิ่งที่ อว.จะดำเนินการต่อก็คือการนำเสนอ ครม. เพื่อให้เกิดการจ้างงานในอีก 4,900 ตำบล ซึ่งจะทำให้มีนักศึกษา ประชาชน และอาจารย์มหาวิทยาลัยลงไปทำงานทุกตำบลทั่วประเทศ คือ 7,900 ตำบล ประการที่ 2 การลงพื้นที่ครั้งนี้ จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำบิ๊กดาต้าของประเทศ ซึ่งแต่ละกระทรวงก็ฝากให้ อว.ช่วยไปดำเนินการ ประการที่ 3 เราไม่สนใจแค่ว่านักศึกษาได้ทำงานแต่สนใจว่านักศึกษาจะได้รับการฝึกทักษะเพิ่มขึ้น มีมุมมองและวิธีคิดที่ทันสมัย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล การเงิน การลงทุน ภาษาและสังคม

โครงการ U2T ลงพื้นที่ ”บ้านแก้ง –สระแก้ว” เตรียมพลิกโฉมท่องเที่ยว- สินค้าสู่สไตล์ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ(U2T) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ โครงการ U 2T จะลงพื้นที่ ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว เพื่อทำกิจกรรม U2T Online Series ep2 พลิกโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนให้ประทับใจสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยงานนี้ จะมี น.ส.รุ่งนภา คำพญา ที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวของฮอกไกโดและภูมิภาคโทโฮคุและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนของประเทศญี่ปุ่น เป็นวิทยาการในการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับชุมชน เพื่อที่จะเปลี่ยนโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนของประเทศไทยให้มีกลิ่นอายสไตล์ญี่ปุ่นเพื่อกระตุ้นและยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวในวิถีใหม่และสินค้าพื้นบ้าน พื้นถิ่น ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวแนวใหม่ทั้งด้านสุขภาพ ผจญภัย อนุรักษ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังลงพื้นที่บ้านคลองอาราง ต.บ้างแก้ง ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างพึ่งพาตัวเองและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีจุดเด่น คือ กลุ่มอาชีพแปรรูปหน่อไม้ดอง ทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือโอทอป เป็นหน่ออ่อนของไผ่ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน มีสีเหลืองอ่อน รสกรุบกรอบ นำมาปรุงอาหารได้ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด กลุ่มอาชีพทำน้ำส้มควันไม้ ผลิตได้จากกระบวนการเผาไหม้ไม้ เพื่อการทำถ่านหุงต้ม ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มซีอิ๊วขาว ผลิตภัณฑ์จักรสานจากไม้ไผ่ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ หมวก กระบุง ตะกร้า และตุ้มหู ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก รวมทั้ง โฮมสเตย์ บ้านคลองอาราง ที่อยู่ในช่วงของการพัฒนา ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาในช่วงปี 2563 คณะทำงานระดับพื้นที่และผู้แทนจากชุมชนจาก 16 ชุมชน ได้มีการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพื้นที่ อาทิ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสู่วิสาหกิจชุมชน โดยเริ่มต้นด้วยการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ผลิตภัณฑ์จักรสานจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์น้ำพริก ผลิตภัณฑ์การแปรรูปหน่อไม้ดอง เป็นกลุ่มอาชีพเริ่มต้น นำร่องเพื่อขยายผลไปสู่กลุ่มอาชีพอื่นในตำบล และนำไปสู่การขอขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งกลุ่มเครื่องจักรสานไม้ไผ่ ได้เข้าสู่กระบวนการในการรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และอยู่ในช่วงของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากหน่วยงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งได้พัฒนาในรูปแบบของการทำตลาดออนไลน์ ดังนั้น โครงการ U2T หวังว่าจะลงไปพลิกโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนให้มีรูปแบบสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างจุดขายให้กับนักท่องเที่ยวได้

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาฯ ปลื้มผู้รับการจ้างงานโครงการ U2T ช่วยเพิ่มรายได้ชุมชน

“เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.การอุดมศึกษาฯ ปลื้มผู้รับการจ้างงานโครงการ U2T ช่วยเพิ่มรายได้ชุมชน แปรรูปผลผลิตอ้อยจาก 1.2 พันบาทต่อตันเป็น 4-5 หมื่นบาทต่อตัน ชี้เป็นการ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนปัญหาเป็นนวัตกรรม ลุย “ลำปาง” 19-20 มี.ค.นี้ ด้าน ผวจ.บึงกาฬ หนุนเต็มที่ เผย 1 ปีชุมชนเปลี่ยนแปลงแน่ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่วัดถ้ำศรีชมภู ต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารลงพื้นที่โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เป็นครั้งแรก โดยมีนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่ได้รับการจ้างงานมาร่วม โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีกลุ่มชุมชนผ้าทอมือ กลุ่มผ้าทอสาวภูไท กลุ่มผ้าอีสานย้อมครามและสีธรรมชาติจากดอกดาวเรือง รวมทั้งชุมชนที่ทำขนมปั้นขลิบไส้ปลาไส้เห็ด ซึ่งผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ที่ลงไปใช้ชีวิตกับชาวบ้านได้นำผลิตภัณฑ์มาจัดแสดง ทั้งนี้ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า ผู้ได้รับการจ้างงานมาจากหลากหลายสถาบันการศึกษามาทำงานและใช้ชีวิตร่วมกันในแต่ละตำบล ได้ใช้ความรู้ความสามารถไปช่วยชาวบ้าน ขณะที่มหาวิทยาลัยก็มีเครื่องมือในการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ชาวบ้านปลูกอ้อยได้ตันละ 1,200 บาท มหาวิทยาลัยและผู้ได้รับการจ้างงานก็มาช่วยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น สามารถทำรายได้จากตันละ 1,200 บาท เป็น 4-5 หมื่นบาทต่อตัน หรืออย่างเรื่องของผ้าทอมือของอีสาน กระทรวงมหาดไทยและสถาบันสิ่งทอก็มาช่วยสนับสนุนในเรื่องของการตลาดและส่งเสริมการปลูกฝ้ายจากฝ้ายพันธุ์ดี เป็นต้น รมว.อว. กล่าวว่า นี่คือการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนปัญหาเป็นนวัตกรรม ที่โครงการ U2T จะทำภายใน 1 ปีใน 3,000 ตำบล ที่วิชาการ ความรู้ จะผลิดอกออกผลไปทั่วประเทศ ตำบลอาจจะขาดในเรื่องขององค์ความรู้ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด แต่มหาวิทยาลัยจะใช้ตำบลเป็นสถานที่ปฏิบัติ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตำบล ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เห็นคุณประโยชน์ของโครงการ U2T เพราะฉะนั้นทุกคนต้องช่วยกันสร้างผลงานและทำตัวเองให้เป็นต้นแบบของ U2T คือ ต้นแบบเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพราะหลังจากนี้ อว. จะขยายโครงการ U2T จาก 3,000 ตำบลให้ครบ 7,900 ตำบลทั่วประเทศ และที่สำคัญในวันที่ 19-20 มี.ค. ตนจะลงพื้นที่ในโครงการ U2T เป็นครั้งที่ 2 ที่ จ.ลำปาง ด้านนายสนิท ขาวสอาด ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ทางจังหวัดให้การสนับสนุนโครงการ U2T อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งเรื่องของผ้าทอมือ ขนมปั้นขลิบ การได้มหาวิทยาลัยและผู้ได้รับการจ้างงานมาช่วยจะทำให้ได้องค์ความรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน รวมทั้งการเพิ่มช่วยทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างแบรนด์ ฉลากบรรจุภัณฑ์ การทำการตลาด การขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ระยะ 1 ปีของโครงการ U2T ตนเชื่อว่าชุมชนจะเข้มแข็งมากขึ้น

อว.-สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา นำนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T ทำงานกับพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต

อว.-สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา นำนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T ทำงานกับพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ”ครูขาบ” บึงกาฬ ชูเศรษฐกิจสร้างสรรค์  นำจุดเด่นของชุมชนสร้างรายได้ให้ชุมชน “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.อว. เผยท้องถิ่นจะเข้มแข็งต้องใช้พลัง 3 ประสาน คือ มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคมหรือชุมชน และภาคเอกชนเมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ต.หนองพันทา อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ที่ก่อตั้งขึ้นโดย “ครูขาบ” หรือนายสุทธิพงษ์ สุริยะ เจ้าของรางวัลออสการ์อาหารโลก Gourmand World Awards จำนวน 14 รางวัลในสาขาต่างๆ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมศิลปะของงานออกแบบร่วมสมัยผสมผสานกับอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีวิถีเกษตรชุมชนเป็นตัวเชื่อม จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ให้ผู้คนได้มาเจอกันและมีรายได้เกื้อกูลกัน ผ่านการซื้อขายสินค้าเกษตรของชุมชน สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ชุมชนไม่ต่ำกว่า 1.3 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก และคณะยังได้มาติดตามการทำงานของผู้ได้รับการจ้างงานจาก อว. ผ่านโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศหรือ U2T ทั้งนี้ หลังการตรวจเยี่ยม ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก ให้สัมภาษณ์ว่า พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ให้บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา และชาวบ้าน ร่วมกับเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ที่เป็นบัณฑิตและนักศึกษาล้วนเป็นผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ แต่ไปศึกษาในจังหวัดอื่น ได้มีโอกาสกลับมาทำงานในท้องถิ่นเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การที่ผู้รับการจ้างงานได้มาทำงานในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถือเป็นโอกาสในการได้มาเรียนรู้เพิ่มเติมจากครูขาบในเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่นำจุดเด่นของชุมชนมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายในระยะเวลา 1 ปีตามระยะเวลาโครงการ  รมว.อว.กล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โครงการU2T เป็นการเปิดโอกาสให้ ชุมชน และ พื้นที่ ได้รับการวิเคราะห์ปัญหาพร้อมทั้งการแก้ไขตามความต้องการ โดยมีผู้จ้างงานที่เป็นบัณฑิตนักศึกษา และชาวบ้าน ทำงานร่วมกัน และมีอาจารย์และมหาวิทยาลัยมาเรียนรู้ร่วมกัน นำความรู้ไปตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่พร้อมๆ กับการที่ชุมชนและพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตจริงให้แก่อาจารย์และมหาวิทยาลัย ที่สำคัญสะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยต้องการชุมชนหรือพื้นที่ท้องถิ่นเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สะท้อนถึงความต้องการจริงของชุมชน ความรู้ของมหาวิทยาลัยจะต้องตอบโจทย์ของชุมชนและท้องถิ่นได้ เพราะจังหวัดหรือท้องถิ่นจะเข้มแข็งได้ต้องมีองคาพยพที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน คือ มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคมหรือชุมชน และภาคเอกชน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนคือผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นจริง ไม่ได้มาแล้วไปเหมือนหน่วยงานราชการจากส่วนกลาง

ชุมชนชาวลำปาง ต้อนรับ U2T และงานวิจัยและนวัตกรรม อว. หวังความยั่งยืนและความสมบูรณ์ในคุณภาพชีวิต

“เอนก เหล่าธรรมทัศน์ “รมว.การอุดมศึกษาฯ นำผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่โครงการ U2T จ.ลำปาง เตรียมยกระดับเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยว มีทั้งป่าสงวนแม่วังและอุทยานขุนตาล ชูพักโฮมสเตย์ ทำเกษตรอินทรีย์ ปลื้มมีเงินไหลเวียนเข้าตำบลช่วยเศรษฐกิจชุมชนเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ(U2T) ที่ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหล่ายทุ่ง ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เพื่อติดตามนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T และเยี่ยมชมโครงการเกษตรอินทรีย์วอแก้ว ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ทำการเกษตรของทุกหมู่บ้าน รมว.อว. กล่าวว่า ต้องขอบคุณโควิด-19 วิกฤตินี้ ทำให้รัฐบาล ต้องจ้างงานนักศึกษาและประชาชนเพื่อบรรเทาการว่างงานด้วยความเป็นห่วงพี่น้องประชาชน ขณะที่ อว.เองได้นำมาคิดต่อว่าการจ้างงานของเราต้องไม่เพียงแต่ทำให้หายจากความทุกข์เท่านั้น แต่ต้องทำให้มากกว่า คือ ให้ทั้งวิชาการความรู้ การเพิ่มและพัฒนาทักษะ ให้ประสบการณ์การทำงานในพื้นที่กับชุมชนและการทำงานแบบเป็นทีม มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง พร้อมจัดกิจกรรมเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รู้จักพูดคุยกับคนมากหน้าหลายตา จึงอยากให้ผู้ได้รับการจ้างงานรักษาโอกาสนี้ไว้ การจ้างงานครั้งนี้ จะให้อนาคตใหม่เพื่อให้ทุกคนนำไปต่อยอดอาชีพในอนาคตได้“อย่างไรก็ตาม เท่าที่มีการประเมินเบื้องต้น พบว่าโครงการ U2T มีผลตอบรับดีมาก แต่ละเดือนทำให้มีเงินไหลเข้าตำบลดีมาก ผมจึงได้กำชับทางตำบล อบต. เทศบาล ช่วยทำให้มีเงินไหลเวียนอยู่ในชุมชนให้มากที่สุดเพื่อช่วยเศรษฐกิจชุมชน” รมว.อว.กล่าวศ.(พิเศษ)ดร.เอนก กล่าวอีกว่า สำหรับในพื้นที่ที่ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหล่ายทุ่ง ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง นักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T จะร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ตราสินค้า สลากสินค้า  บรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาดและช่องทางการตลาด ได้แก่ อบรมพัฒนาตลาดออนไลน์  อบรมการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ อบรมการจัดทำบัญชี อบรมการจัดการของเสียจากการผลิต นอกจากนั้น จะมีการยกระดับอาชีพเกษตรกรรม เช่น การส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ที่ชุมชนยังขาดความรู้ในเรื่องการตรวจสอบสารอาหารในปุ๋ย และจากการสำรวจพื้นที่ในชุมชนและจากการค้นหาข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการทำปุ๋ยพบว่า กระถินป่าที่มีอยู่ในชุมชนจำนวนมากสามารถนำมาทำปุ๋ยหมักได้ ผลการวิจัยพบว่ากระถินมีสารอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากมีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รมว.อว.กล่าวต่อว่า ที่สำคัญจะมีการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว เพราะวอแก้วพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขาและเนินเขา มีความสวยงาม มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แม่วังฝั่งขวา อุทยานขุนตาล และมีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ  ได้แก่ ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุ วัดม่อนป๋อปอดอยแล รวมทั้งมีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เปิ๊บ ห้วยแม่ติว ห้วยบก ห้วยซ้อน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและการเกษตร  ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวสนใจทำกิจกรรมในชุมชนจำนวนมาก เช่น นักปั่นจักรยาน ผู้สนใจเข้ามาอบรมการทำการเกษตรอินทรีย์ และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักโฮมสเตย์ เป็นต้น  โดยจะต้องมีการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชน เช่น การใช้ต้นพืชผักที่เพาะปลูกในการจัดสถานที่ การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยใช้ภูมิปัญญาชุมชนและสอดรับกับวิถีชุมชน

อว.เตรียมตั้ง“ พิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้ว ลำปาง”

อว.เตรียมตั้ง“ พิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้ว ลำปาง” รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จาก 12 วัดขึ้นทะเบียนกว่า 6 พันรายการพร้อมคัมภีร์โบราณเพียบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหารลงพื้นที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหล่ายทุ่ง ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยเข้าตรวจเยี่ยมการทำงานของนักศึกษา บัณฑิต และประชาชนที่ได้รับการจ้างงาน การอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และการทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในวัดจำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย วัดสองแควเหนือ หมู่ 1 วัดสองแควใต้ หมู่ 2 วัดสบต่ำ หมู่ 3 วัดดอยเงิน หมู่ 3 วัดนาแก้วตะวันตก หมู่ 4 วัดจอมปิง หมู่ 5 วัดนากิ๋มเหนือ หมู่ 5 วัดกู่ทุ่งศาลา หมู่ 5 วัดศรีดอนมูล หมู่ 6 วัดป่าแข หมู่ 7 วัดพระธาตุจอมปิง หมู่ 8 และวัดสองแควสันติสุข หมู่ 9 เพื่อจัดทำข้อมูลและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพื่อจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้วโดย ดร.ปัณณทัต กัลยา รอง ผอ.สำนักวิจัยและบริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ชุมชนวอแก้ว กล่าวว่า การจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ใน 12 วัดในชุมชนวอแก้วมีนักศึกษาที่ได้รับจ้างงาน จำนวน 18 คนมาจากหลากหลายมหาวิทยาลัย ทั้ง ม.เชียงราย ม.พะเยา มรภ.ลำปาง เป็นต้น มาทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนกลับมาอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชนตนเอง โดยขอความร่วมมือจากเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชนและชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และทำทะเบียนวัตถุโบราณ ซึ่งแต่เดิมเคยอยู่แบบกระจัดกระจายและไม่ได้รับการเก็บรักษาดีเท่าที่ควร นำมาทำความสะอาด อนุรักษ์ซ่อมแซม และจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งพบว่ามีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปมากกว่า 6,000 รายการ มีคัมภีร์พระพุทธศาสนาและคัมภีร์ความรู้เรื่องของตำรับยา โหราศาสตร์ สูตรวิศวกรรมศาสตร์ในการสร้างวัดสร้างพระ ธรรมวินัย และจารึกประวัติศาสตร์ของชุมชน จึงได้จัดเป็นหมวดหมู่เพื่อรักษางานศิลปกรรมเหล่านี้ไว้ให้ทรงคุณค่า รวมทั้งป้องกันแมลง สัตว์มาทำลาย อีกทั้งป้องกันการสูญหายของงานศิลปกรรมด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนให้หันกลับมาดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างและเก็บรักษาไว้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่ออนาคตของลูกหลานในชุมชนดร.ปัณณทัต กล่าวต่อว่า งานที่ผู้ได้รับการจ้างงานทำสุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาแก้ว ที่มี 9 หมู่บ้าน เพื่อให้คนทั่วประเทศได้มาดู และจะนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชนเองด้าน ศ.ดร.เอนก กล่าวว่า อว.พร้อมสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อชุมชนและประเทศชาติ พระพุทธรูปไม้ถือเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ควรที่ประชาชนจะได้มาดูมาศึกษาความงามของศิลปโบราณ

"ปลัดกระทรวง อว." ปลื้ม "จ้างงาน อว." เศรษฐกิจสะพัดเดือนละพันล้านใน 3 พันตำบล

เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่ จ.ลำปาง ว่า ขณะนี้โครงการ U2T ได้จ้างงานนักศึกษา บัณฑิตและประชาชนได้กว่า 50,000 อัตราแล้ว จากทั้งหมด 60,000 อัตรา หรือประมาณ 90% และกำลังทยอยจ้างให้ครบ 60,000 อัตราในเร็วๆ นี้ โดยโครงการ U2T ดำเนินการมาได้แล้ว 1 เดือนครึ่ง มีผู้ได้รับการจ้างงานและลงไปทำงานกับชุมชนใน 3,000 ตำบลทั่วประเทศ ได้ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เดือนละเกือบ 1,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ผู้ได้รับการจ้างงาน ได้ไปทำโครงการร่วมกับชุมชน ทำให้เกิดโครงการใหม่ประมาณ 20,000 โครงการ หรือประมาณ 10 โครงการต่อ 1 ตำบล ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี โดย 40% ใน 20,000 โครงการ เป็นโครงการที่ทำร่วมกับท้องถิ่น 20% เป็นโครงการเกี่ยวกับเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชนและสตาร์ทอัพ และอีก 20% เป็นโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เช่น การกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย และการปรับระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ เป็นต้นประธานบอร์ด U2T กล่าวต่อว่า ที่สำคัญผู้ได้รับการจ้างงานได้รับการพัฒนาทักษะแล้วใน 3 กลุ่ม 1.ทักษะด้านอาชีพ ทั้งการริเริ่มโครงการใหม่และการเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านอาชีพให้กับตนเอง 2.ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เรื่องของภาษาอังกฤษ หรือการติดต่อสื่อสาร 3. ทักษะชีวิต ผู้ได้รับการจ้างงานได้ทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งจะทำให้เมื่อทำงานครบ 1 ปีของการจ้างงาน อว.คาดหวังว่าผู้ได้รับการจ้างงานทั้งหมดจะมีอาชีพที่ยั่งยืน มีผู้ได้รับการจ้างงานที่กลายเป็นผู้ประกอบการที่มีฝีมือในชุมชนของตนเอง และกลายเป็นผู้นำชุมชน

อว. เชียร์มหาวิทยาลัย ช่วย นักศึกษาสร้างรายได้ ในโครงการ “ Uni Learning Center & Sandbox “

อว. เชียร์มหาวิทยาลัย ช่วย นักศึกษาสร้างรายได้ ในโครงการ “ Uni Learning Center & Sandbox “ ศูนย์การเรียนรู้ สู่การสร้างธุรกิจ พัฒนาการเรียนให้ควบคู่กับการพัฒนาชุมชน สร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้ 26 มีนาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการ “ Uni Learning Center & Sandbox “ (ศูนย์การเรียนรู้ สู่การสร้างธุรกิจ) และตลาด “ ฮักนา VRU Market “ ที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนว่า จะปรับบทบาทให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ และการพัฒนาท้องถิ่นอย่าสมบูรณ์แบบ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง อว. ที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อน ดําเนินงานเพื่อความเจริญของเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ หรือ University as a Marketplace โดยการพัฒนาการเรียน ให้ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง การทํางานกับภาคีเครือข่าย การสร้างนวัตกรรมเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ในโครงการต่าง ๆ อาทิ ส่งเสริมการเป็น Start up หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ เป็นการเปิดพื้นที่สําหรับสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชุน และผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

ตะกร้าสานจากเชือกฟาง

ผลิตภัณฑ์ที่สานจากเชือกฟางผลงานที่มีเอกลักษณ์พร้อมกับมีคุณภาพ ผ่านงานฝีมือที่ทำด้วยความใส่ใจและปราณีตจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนถักสาน #ผ้าวน #ผลิตภัณฑ์จากตำบลหนองมะค่าโมง สร้างผลิตภัณฑ์ถักสานหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าลวดลายสีสันเก๋ๆที่ถือแล้ววินเทจสุดๆตะกร้าใส่ของทำบุญหลากหลายรูปแบบและขนาดสามารถติดต่อได้ที่ คุณ ศิริทิพ เผ่าพันธ์(หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนถักสานตะกร้าจากเชือกฟาง)061-4759346 Facebook: Siritip Paopan#มหาวิทยาลัยสู่ตำบล#หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

3 เดือน U2T เดินหน้าฝ่าวิกฤต ความสำเร็จ และก้าวต่อไป

เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือนแล้ว ที่โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ภายใต้ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สามารถจ้างงานคนพื้นที่ใน 3,000 ตำบล ได้แล้วเป็นจำนวนถึง 53,264 กว่าคน และในอนาคตอันใกล้จะสามารถจ้างงานครบทั้ง 60,000 คนเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 64 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการว่า เงินค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ได้รับจ้างงานกว่า 53,264 คน เป็นการอัดฉีดเม็ดเงิน เดือนละกว่า 700 ล้านบาท กระจายไปทั่วประเทศ ถูกจับจ่ายใช้สอยในชุมชน และก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในช่วงที่วิกฤตไวรัสโควิด - 19 กำลังระบาดในประเทศในส่วนของผลงานวิจัย และนวัตกรรมของ อว. สามารถสร้างผลงานอย่างเป็นรูปธรรม เป็นจำนวนกว่า 9,825 โครงการ เพื่อพัฒนาตำบลในหลายๆ ด้าน เช่น การอบรมชาวบ้านในการทำสปาสมุนไพร ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ชุมชนภูเขาทอง จ.นราธิวาส เพื่อรองรับการท่องเที่ยวหรือการนำเทคโนโลยี ไปใช้ในการเกษตร เปลี่ยนแปลงเกษตรดั้งเดิมให้เป็น Smart Farming รวมถึงการทำเกษตรปลอยภัยในหลายๆตำบลในส่วนของการดำเนินงานในโครงการ U2T ทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทำงานกับผู้ได้รับการจ้างงาน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคม ชุมชน และชีวิตประจำวัน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University-TCU) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่ร่วมกับสถาบัน Change Fusion เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีภาคเอกชนรายใหญ่แสดงเจตนารมย์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา ยกระดับผู้ได้รับการจ้างงานรวมถึงสนับสนุนในด้านอื่น ๆ ในโครงการ U2T เช่น เซ็นทรัล กรุ๊ป กลุ่มมิตรผล เครือเบทาโกร ธนาคารออมสิน บ.กูเกิล (ประเทศไทย) และ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ก่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่าง อว. กับภาคเอกชน ผู้ได้รับการจ้างงาน และชุมชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด – 19 ระลอกที่ 3 อว. พร้อมดำเนินงานในโครงการ U2T ในรูปแบบ New Normal โดยมีการวางโครงสร้างการทำงานในลักษณะออนไลน์ เช่น การสร้างสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ได้รับการจ้างงาน 5 หมื่นกว่าคน กับมหาวิทยาลัย ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมอบหมายหน้าที่ให้ผู้ได้รับการจ้างงาน เป็นกำลังสำคัญในการช่วยชุมชนสำรวจความพร้อมของการรับมือโควิด – 19 และการปฏิบัติตามมาตรการแนะนำของรัฐอีกด้วยรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า “เด็กกับผู้ใหญ่ทำงานร่วมกันอย่างดี อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน และกลมเกลียว ช่วยยกระดับบ้านเกิดของตัวเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เอาใจใส่กันเป็นอย่างมาก เป็นอีกก้าวหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา”

“เอนก” จัดกิจกรรมพิเศษ “U2T ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด”

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว.ได้ปรับแผนการทำงานของผู้ได้รับการจ้างงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด – 19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยระหว่างวันที่ 23 – 31 พ.ค.นี้ จะจัดกิจกรรมพิเศษ “U2T Covid week ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด”  เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชน และณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน ผ่าน 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือรมว.อว. กล่าวต่อว่า กิจกรรมเชิงรุก คือ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน” พร้อมสร้างเขตปลอดภัย โดยจะเน้นการเข้าไปเคลียร์พื้นที่ การทำความสะอาดเพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด -19 ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถลงพื้นที่เข้าไปปฎิบัติภารกิจได้ ทั้งนี้ โรงเรียนจะเป็นสถานที่แรก ที่จะเริ่มปฎิบัติภารกิจ เนื่องจากโรงเรียนจะเปิดเรียนในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และครูส่วนกิจกรรมเชิงรับ คือ “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดของโรค” เร่งสำรวจคนในชุมชนในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เร่งสร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้และคนในชุมชนได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนกลับมามีชีวิตอย่างปกติในเร็ววันศ.ดร.เอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ได้รับการจ้างงาน 6 หมื่นคนในโครงการ U2T จะต้องช่วยกันวางแผน กำหนดรูปแบบเพื่อลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อนหรือต้องการความช่วยเหลือและตลอดทั้งสัปดาห์ของกิจกรรมพิเศษ “U2T Covid week ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด” ทุกคนยังสามารถร่วมสนุกกับเวปไซต์ U2T.ac.th ส่งภาพถ่ายหรือแชร์ประสบการณ์ท้าทายมาร่วมสนุกได้ในกิจกรรมชาเล้นท์ ของเรา โดยในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ตนจะนำผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่ที่โรงเรียนวัดเขาพระ ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก ด้วย U2T ต้องเปลี่ยน ทำยังไงที่จะช่วยชาวบ้านป้องกันโควิด -19 ต้องมีความรู้ รู้จักวิธีป้องกันตนเอง รู้จักเตรียมสถานที่ ทำยังไงให้ชาวบ้านได้รับวัคซีน ได้รับยา ถ้าเขาป่วย ทำยังไงที่จะส่งเข้าไปโรงพยาบาล รวมไปถึง กระทั่งการเตรียมพร้อมเรื่องคน การฝึกคนที่จะไปเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือ ที่สำคัญ ขณะนี้ เหลือเวลาไม่ถึงเดือน เด็กจะเปิดเทอมแล้ว ซึ่งเราก็จะต้องดูแลให้ปลอดภัย U2T จะต้องเป็นกองหนุนรัฐบาลที่เข้มแข็ง เป็นกองหนุนที่จะทำให้ประเทศประสบชัยชนะ แต่เราไม่ได้ทิ้งงานเดิม ที่สำคัญ จะมีการประกวดถ่ายรูป อย่างเช่น รูปที่โดนเข็มฉีดยาเข้าไป ตกใจ หน้าตาบอกบุญไม่รับ แล้วก็เป็นภาพยิ้ม หลังจากที่ฉีดไปแล้ว ภาพของหมอ พยาบาลที่เหน็ดเหนื่อย ภาพของพวกเราที่พยายามที่จะไปช่วยเหลือ ภาพที่ออกมา มันอาจจะเป็นศิลปะแห่งชีวิต ศิลปะแห่งการงานขอให้ส่งเข้าประกวดกัน” ศ.ดร.เอนก กล่าว   

ครม.รับทราบ อว.จ้างงาน U2T ได้ถึง 95.4 เปอร์เซ็นต์หรือกว่า 5.7 หมื่นคน

ครม.รับทราบ อว.จ้างงาน U2T ได้ถึง 95.4 เปอร์เซ็นต์หรือกว่า 5.7 หมื่นคน คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ สภาพัฒน์ เสนอ พร้อมจัดทำข้อมูลตำบลได้สมบูรณ์แล้ว 2,898 ตำบลจาก 3 พันตำบลหรือ 96.60 เปอร์เซ็นต์ เกิด 9,679 โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ทั้งโอท็อป ท่องเที่ยว สุขภาพ เงินหมุนเวียนในชุมชนกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือนเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้โดยได้หยิบยกรายงานผลการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย(U2T) ระยะ 3 เดือน(ก.พ. – เม.ย.2564) ของ อว.ให้ ครม.พิจารณา โดยผลการดำเนินงานของโครงการ U2T ณ วันที่ 3 เม.ย.2564 ปรากฎว่า สามารถจ้างงานได้ทั้งสิ้น จำนวน 57,264 คน คิดเป็นร้อยละ 95.4 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายรมว.อว.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ครม.ยังได้รับทราบผลการดำเนินการของผู้ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T ว่าได้มีการข้อมูลชุมชน ข้อมูลตำบลได้สมบูรณ์แล้ว 2,898 ตำบลหรือคิดเป็นร้อยละ 96.60 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดและได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ากว่าร้อยละ 45.8 เป็นตำบลที่มีศักยภาพมุ่งสู่ความยั่งยืนและความพอเพียง ขณะที่กว่าร้อยละ 50.8 เป็นตำบลที่พอจะอยู่รอดจากความยากลำบากและยังอยู่ในภาวะลำบาก นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจความพร้อมในการเฝ้าระวังโควิด – 19 และโรคระบาดใหม่ พบว่าในภาพรวมทั้งประเทศ มีการตระหนักรู้และเฝ้าระวังโรคโควิด -19 มากกว่าร้อยละ 86 และที่สำคัญ ได้มีการจัดเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลที่มีอยู่เดิมจากฐานข้อมูลหน่วยงานและข้อมูลจัดเก็บเพิ่มเติมผ่าน U2T แอพพลิเคชั่น ซึ่งได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการจัดเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วและได้มีการทดสอบระบบและการจัดเก็บข้อมูลในบางตำบลไปบ้างแล้วและได้เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลจริงในเดือน มิ.ย.เป็นต้นไป และ กลุ่มข้อมูลชุมชนที่จัดเก็บผ่านแอพพลิเคชั่น U2T ได้แก่ 1.ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น พืช สัตว์ เห็ด รา เป็นต้น 2.ข้อมูลความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ข้อมูลพื้นที่ท่องเที่ยว อาหารประจำถิ่น ภาษา และกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นต้นศ.ดร.เอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ได้รับการจ้างงานยังได้รับการพัฒนาทักษะใน 4 ด้านในช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย.ที่ผ่านมาจากสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิตัล โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและสถาบัน Change Fusion ผ่านหลักสูตรอี–เลิร์นนิ่ง ด้านการเงิน จำนวน 10,299 คนหรือ 17.7 เปอร์เซ็นต์ ด้านดิจิตัล จำนวน 4,920 คนหรือ 8.2 เปอร์เซ็นต์ ด้านภาษาอังกฤษ จำนวน 3,701 คนหรือ 6.2 เปอร์เซ็นต์และด้านสังคม จำนวน 1,236 คนหรือ 2.1 เปอร์เซ็นต์ “ผู้ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T มีการยกระดับเศรษฐกิจในภาพรวมผ่านการดำเนินกิจกรรมรายตำบล 3 พันตำบลทั้งสิ้น 9,679 โครงการ อาทิ การพัฒนาสัมมาชีพใหม่และสร้างอาชีพใหม่ อาทิ ยกระดับสินค้าโอท็อป และอาชีพอื่นๆ จำนวน 2,730 โครงการ การสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น การยกระดับการท่องเที่ยว จำนวน 2,047 โครงการ การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน เช่น เรื่องสุขภาพ เทคโนโลยีด้านต่างๆ จำนวน 2,422 โครงการ การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ การเพิ่มรายได้หนุมนเวียนให้แก่ชุมชน จำนวน 2,318 โครงการ เป็นต้น โดยผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา คือ มีเงินหมุนเวียนในชุมชนไม่น้อยกว่าเดือนละ 700 ล้านบาทต่อเดือน มีการจ้างงงานคนในพื้นที่มากกว่า 5.3 แสนคนและทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่” รมว.อว.กล่าวและว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ อว.ไปดำเนินการในระยะต่อไป ประกอบด้วย 1.เร่งให้มีการจ้างงานในพื้นที่ให้ครบถ้วนตามที่กำหนด 2.เร่งพัฒนาทักษะผู้ได้รับการจ้างให้ครบทุกหลักสูตรและ 3.ให้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ U2T รวม 9,679 โครงการเพื่อเชื่อมโยงกับการจัดทำข้อมูลตำบลเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

อว. ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ 965 ทีมจาก U2T แข่ง “แฮกกาธอน” สนุก เฟ้นหาคำตอบให้โจทย์ “การท่องเที่ยว – สุขภาพ –สิ่งแวดล้อม –ศิลปวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมสึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือU2T จะจัดการแข่งขันแฮกกาธอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้ระดมความคิดจากปัญหา และความต้องการในพื้นที่กว่า 3,000 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาแต่ละตำบลภายใต้โจทย์ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.การยกระดับการท่องเที่ยว 2.การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และสุขภาพไปช่วยบริการชุมชน 3.การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม และ4.การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยมีทีมที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาทอนจากมหาวิทยาลัยใน 8 ภูมิภาค จำนวน 965 ทีม หรือกว่า 5,000 คน โดยแบ่งเป็นด้านยกระดับการท่องเที่ยว 40% รองลงมาคือ ด้านการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและสุขภาพไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านละ 25% และด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 10%รมว.อว.กล่าวต่อว่า การแข่งขันในวันที่ 1 ก.ค.นี้ จะแข่งใน 8 สนามของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยพะเยา แข่งวันที่ 1 – 2 ก.ค. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม แข่งวันที่ 5 – 6 ก.ค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แข่งวันที่ 7 – 9 ก.ค.มหาวิทยาลัยทักษิณ แข่งวันที่ 10 – 12 ก.ค.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ แข่งวันที่ 12 – 13 ก.ค. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย แข่งวันที่ 14 – 15 ก.ค. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แข่งวันที่ 17 – 18 ก.ค. และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แข่งวันที่ 31 ก.ค. โดยรอบแรกจะทำการคัดเลือกจาก 965 ทีม ให้เหลือ 300 ทีม จากนั้นจะคัดสุดยอดในระดับภูมิภาค แห่งละ 5 ทีม รวม 40 ทีมโดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกในระดับภูมิภาค จะได้รับการสนับสนุนเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท เพื่อนำแนวทางการพัฒนา ในรูปแบบไอเดียไปทดลองทดสอบในพื้นที่จริง ภายใต้คำแนะนำของพี่เลี้ยงและผู้นำชุมชน เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาเป็น “ตัวต้นแบบ” หรือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนเข้าสู่การเฟ้นหา 5 สุดยอดแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในการแข่งขันระดับประเทศ ในเดือน พ.ย.2564 ชิงเงินรางวัลสนับสนุนทีมละ 100,000 บาทพร้อมรับโล่เชิดชูเกียรติเพื่อต่อยอดและพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมชุมชนในต่อไป “กิจกรรมแฮกกาทอนเป็นรอยต่อของโครงการ U2T ที่จะนำแนวทางไปสู่การขยายผล เกิดการขับเคลื่อนทางสังคม เป็นพลังจากคนพื้นที่ร่วมกับพลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สู่ความยั่งยืน โครงการ U2T ได้นำพาคนที่ไม่รู้จักกัน 20 คนมาทำงานในพื้นที่ตำบลเดียว จนเกิดความคุ้นเคยและสามารถร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมแฮกกาทอน เพื่อสร้างแผนพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนกิจกรรมแฮกกาทอนเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ ในสถานการณ์โควิดรุนแรง แต่คนเหล่านี้สามารถเรียนรู้ มีงานทำได้ลงพื้นที่และลงไปทำข้อเสนอเชิงนโยบายส่งผ่านถึงผู้บริหารทุกระดับตั้งแต่พื้นที่ถึงระดับประเทศ ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน และขอให้ทุกคนมีความกล้า กล้าแสดงออก กล้าคิดเพื่อนำประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเพื่ออนาคตของเราทุกคน” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวว่า การจัดกิจกรรมแฮกกาธอน ถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาสังคมในพื้นที่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน จนเกิดแนวทางการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมที่ยกระดับเศรษฐกิจจากฐานรากอย่างแท้จริง ตนขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่เข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ขอให้ใช้ความรู้ความสามารถและปลดล็อกศักยภาพของตัวเองออกมาให้เต็มที่ ผลลัพธ์สำคัญจากการแข่งขัน จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา พัฒนาอย่างมุ่งเป้าและยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยหลังจากนี้ตนจะนำแนวทางการพัฒนาทั้งหมดที่ได้จากการนำเสนอไอเดียของทุกทีม ไปขยายผลไปสู่นโยบายและแผนพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมต่อไป

รมว.อว.เผย ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้สูงสุดในอาเซียน ด้านปลัดอว.ชี้ วัคซีน "ซิโนแวก"ที่ใช้มีคุณภาพจริง

วันนี้ 19 ก.ค.64 ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า อว. ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อ และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างใกล้ชิดและใช้ข้อมูลทางวิชาการในการร่วมบริหารสถานการณ์ ซึ่งในขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกส่วนของกระทรวงฯ มาสนับสนุนการทำงานของ ศบค. อย่างเต็มที่ทั้งการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลหลัก การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ในประเด็นเรื่องวัคซีนนั้น ขณะนี้ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสำหรับประเทศขนาดใหญ่ในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรมากกว่า 50 ล้านคน ซึ่งได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และพม่า นั้น ประเทศไทยสามารถฉีดวัคซีนได้สูงที่สุดตามสัดส่วนประชากร โดยมีคนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วถึง 16.3% ของประชากร ตามด้วยอินโดนีเซีย (15.1%) ฟิลิปปินส์ (9.1%) เวียดนาม (4.1%) และ พม่า (ประมาณ 3.1%) ในแง่จำนวนการฉีดวัคซีน อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรถึง 275 ล้านคน ได้ฉีดวัคซีนแล้ว 57,947,614 โดส โดยมีประชากรได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว 15.1% และครบ 2 เข็มแล้ว 5.9% ในขณะที่ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 14,223,762 โดสรมว.อว.กล่างต่อว่า สำหรับในประเทศขนาดเล็กในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีประชากรน้อยกว่า 50 ล้านคน ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ และบรูไน นั้น จะมีร้อยละการฉีดวัคซีนต่อประชากรค่อนข้างสูง คือ สิงคโปร์ มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว 4,118,334 คน (69.9% ของประชากร) ตามด้วยกัมพูชา 5,767,616 คน (34.1%), มาเลเซีย 9,570,974 คน (29.3%), บรูไน 106,556 คน (24.2%) และลาว 1,050,818 คน (14.3%) ตามลำดับด้าน ศ.นพ. ดร. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวว่า การใช้วัคซีนของประเทศไทยนั้น ใช้วัคซีนซิโนแวคมากที่สุด จำนวน 7,522,418 โดส โดยเป็นเข็มแรกจำนวน 4,187,943 โดส (29.5% ของจำนวนที่ฉีด) และเข็มที่สอง จำนวน 3,334,475 โดส (23.4%) ตามด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกา จำนวน 6,288,541 โดส โดยเป็นเข็มแรกจำนวน 6,180,413 โดส (43.4%) และเข็มที่สอง จำนวน 108,128 โดส (0.8%) และวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 412,803 โดส โดยเป็นเข็มแรกจำนวน 412,076 โดส (2.9%) และเข็มที่สอง จำนวน 727 โดส (0.005%)

รัฐบาลสั่งลดค่าเทอม และค่าใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยรัฐ 50% ส่วนเอกชนลดหัวละ 5,000 บาทพร้อมขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมกา

รัฐบาลไม่ทอดทิ้งนักศึกษา และผู้ปกครอง สั่งลดค่าเทอม และค่าใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยรัฐ 50% ส่วนเอกชนลดหัวละ 5,000 บาทพร้อมขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา ให้เริ่มทันที เผยมีนักศึกษาได้ประโยชน์กว่า 1.75 ล้านคนเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการออกมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของผู้ปกครอง นักเรียน และนักศึกษา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2564 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับหลักการมาตรการตามที่ อว. เสนอ คือ สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ จะลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยกำหนดเป็น 3 ขั้น ได้แก่ขั้นที่ 1 ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษา ร้อยละ 5ขั้นที่ 2 ส่วนตั้งแต่ 50,001 – 100,000 บาท ลดร้อยละ 30ขั้นที่ 3 ส่วนตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับส่วนลดนี้ร้อยละ 60 และสถาบันอุดมศึกษาสมทบร้อยละ 40ในส่วนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐบาลจะสนับสนุนลดค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษาคนละ 5,000บาท และให้ทางสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละแห่งพิจารณาลดค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมและสนับสนุนมาตรการอื่นๆ เช่น ขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา ตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษา จัดหาอุปกรณ์/ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษายืมเพื่อใช้ในศึกษาออนไลน์ ส่วนลดค่าหอพักนักศึกษา จัดสวัสดิการพิเศษกรณีนักศึกษาป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นต้นรมว.อว.กล่าวต่อว่า มาตรการนี้จะเริ่มใช้ทันทีในภาคศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยจะมีนิสิต นักศึกษาที่ได้รับประโยชน์เป็นจำนวนถึง 1,750,109 คน

อว.เปิดตัว “ระบบดูแลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 แบบแยกตัว” ฝีมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อว.เปิดตัว “ระบบดูแลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 แบบแยกตัว” ฝีมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ง่ายผ่าน “แอพพลิเคชั่นไลน์” สะดวก รวดเร็ว ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถติดตามอาการได้อย่างใกล้ชิด เริ่มใช้แล้วที่ รพ.ศรีนครินทร์ ด้าน อธิการบดี ม.ขอนแก่น เผยสามารถใช้ได้จริงภาคสนาม โรงพยาบาลใดสนใจติดต่อ https://homeisolation.kku.ac.thเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนา “ระบบการดูแลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 แบบแยกตัว” เป็นที่สำเร็จ เพื่อใช้บริหารจัดการกลุ่มผู้ป่วยแบบแยกตัว ทั้งแบบการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) / การดูแลตนเองในระบบชุมชน (Community Isolation) และยังเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้มาก ขึ้น รวดเร็วขึ้น สามารถติดตามดูแลอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด สะดวกทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ โดยจุดเด่นของระบบนี้ คือ 1. ผู้ป่วยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นใหม่ในโทรศัพท์ ยกเว้นกรณีไม่มีแอพพลิชั่นไลน์ 2. บัญชีผู้ใช้ไลน์หนึ่ง ๆ สามารถใช้กับผู้ป่วยได้หลายคน 3. บันทึกข้อมูลระบบได้รวดเร็ว โดยให้กรอกเฉพาะข้อมูลสัญญาณชีพและอาการ เนื่องจากระบบเชื่อมบัญชีไลน์กับฐานข้อมูลผู้ป่วยแล้ว และ 4. เป็นไปตามมาตรฐานการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) สากลรมว.อว. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่จะเข้ามาอยู่ในระบบนี้ได้จะต้องได้รับการยืนยันจากโรงพยาบาล ว่าติดเชื้อโควิด-19 แล้ว หรือ เป็นผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามแล้ว และแพทย์ประเมินว่าเป็นกลุ่มไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย (สีเขียว) ยินยอมเข้าสู่ระบบการดูแลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 แบบแยกตัว โดยหลังจากได้ลงทะเบียนเชื่อมบัญชีผู้ใช้ไลน์กับฐานข้อมูลคนไข้แล้ว ระบบจะติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านบัญชีไลน์ส่วนบุคคลกับบัญชีไลน์ของโรง พยาบาลที่รับรักษา ซึ่งบัญชีไลน์ส่วนบุคคลของผู้ป่วย จะใช้ในการรับแจ้งเตือนการส่งสัญญาณชีพ ส่งอาการ ปรึกษาแพทย์ แจ้งขอความช่วยเหลือ สั่งอาหาร และอื่น ๆ เกี่ยวกับการสื่อสารกับโรงพยาบาล ส่วนบัญชีไลน์ของทางโรงพยาบาลจะใช้สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าเวร ใช้ในการสื่อสาร ติดตาม หรือให้คำปรึกษากับผู้ป่วย และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ประสานงานกับผู้ป่วยเช่น งานเอกสาร การรับส่งยา หรือการส่งอาหาร เป็นต้น“ระบบนี้ได้เริ่มใช้งานแล้วที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งช่วยให้ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบแยกตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ทำให้การสื่อสารและดูแลผู้ป่วยผ่านการแพทย์ทางไกล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สร้างสามารถความมั่นใจและอุ่นใจให้กับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ได้” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว

รมว.อว.ตรวจติดตามการดำเนินงานและเยี่ยมให้กำลังใจทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก

รมว.อว.ตรวจติดตามการดำเนินงานและเยี่ยมให้กำลังใจทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก หรือ ทีม CCRT (Compreh ensive Covid-19 Response Team) จากการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชนทั่วไปภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T หน่วยดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยฉีดวัคซีน CCRT-49 วัดชัยพฤกษมาลา ตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน ชมจุดตรวจเชิงรุกธนบุรี และศูนย์พักคอยการส่งต่อเขตธนบุรี community isolation ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ และจุดฉีดวัคซีน ศูนย์การค้าไอคอนสยาม เขตคลองสานศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรืองเลขานุการรัฐมนตรี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง รองศาสตราจารย์ ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตตตลิ่งชัน แพทย์หญิงเจตนี พงศพนาไกร ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 49 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รองอธิการบดี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ U2T นำคณะตรวจเยี่ยมลงพื้นที่ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ณ จุดปฏิบัติงาน ฉีดวัคซีน CCRT 49 วัดชัยพฤกษมาลา ที่ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เพื่อติดตามการดำเนินโครงการ U2T-CCRT ที่ปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการปฏิบัติงานจิตอาสาของผู้รับจ้างงานโครงการ U2T จากนั้นอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำคณะตรวจเยี่ยมลงพื้นที่ให้กำลังใจในการทำงานกับเจ้าหน้าที่ U2T ณ จุดตรวจเชิงรุกธนบุรี และศูนย์พักคอยรอการส่งต่อเขตธนบุรี community isolation ณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ หลังจากนั้นคณะตรวจเยี่ยมเดินทางไปให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดฉีดวัคซีน ศูนย์การค้าไอคอนสยาม คลองสาน

อว. เคลื่อนพล ร่วม กทม. ส่ง 76 ทีมออกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุกในชุมชน

อว. เคลื่อนพล ร่วม กทม. ส่ง 76 ทีมออกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุกในชุมชน (CCRT) ร่วมกับสำนักอนามัย กทม. ตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีน พร้อมจับมือจิตอาสาในคณะแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เทคนิคการแพทย์ วิศวะ วิทยาศาสตร์ และทุกคณะขยายผลไปทั่วประเทศเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 64 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว. กำลังทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก โดยได้ให้ทีมงานของ อว.โดยเฉพาะทีมมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ร่วมออกหน่วยปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเชิงรุกในชุมชน หรือ CCRT (Comprehensive COVID-19 Response Team) ซึ่งขณะนี้ได้ส่งไปจำนวน 76 ทีม ในทุกพื้นที่ของ กทม. สนับสนุนการคัดกรอง ตรวจเบื้องต้นโดยวิธีหาแอนติเจน (ATK) ฉีดวัคซีน รวมทั้งทำกลไกกักตัวที่บ้านและชุมชน หรือ Home Isolation/ Commmunity Isolation“รัฐบาลได้มอบให้ อว. ทำโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลฯ หรือ U2T ตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้มีทีมของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำงานในพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว 3,000 ตำบล มีนิสิตนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชน ทำงานอยู่แล้ว 60,000 คน โดยใน กทม. มีอยู่ 76 ทีม ซึ่งในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 นี้ อว. จึงได้ทำงานร่วมกับสำนักอนามัย กทม. ในหน่วยปฏิบัติการเชิงรุก CCRT ในทุกบทบาทมาสองสัปดาห์แล้ว ทั้งโดยกลไก U2T และทีมจิตอาสา จากการที่ได้ไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแต่ละทีม พบว่าสามารถร่วมมือกับ กทม. ได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้ให้ขยายผลและบทเรียนนี้ไปสู่ทีมมหาวิทยาลัยสู่ตำบลทั่วประเทศโดยเร็ว” ปลัด อว.กล่าวนอกจากนี้ อว. ยังมีนิสิตนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรจิตอาสาอีกจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในคณะแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เทคนิคการแพทย์ วิศวะ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และคณะด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่ได้อาสาจะมาร่วมกันสนับสนุนในการควบคุมโรค และช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและชุมชนที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย เช่น นักศึกษาแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีกว่าร้อยคน ก็ได้อาสาเข้าไปร่วมปฏิบัติงานในชุมชนแล้ว

อว. แถลงข่าว โครงการ "อว.พารอด"

ศ. (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเป็นประธานเปิดโครงการ “อว.พารอด” โดยมี ผศ.ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เข้าร่วมโครงการ “อว.พารอด” เป็นนวัตกรรมในการเปลี่ยนคนที่รอเป็นคนที่รอด โดย อว.และเครือข่ายพันธมิตรทำโครงการนี้ด้วยหัวใจ ด้วยความเป็นห่วง แม้ไม่สามารถช่วยได้ทุกเรื่อง แต่ก็ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ และทำทันทีโดยจะเริ่มนำร่องส่งให้ผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลในเครือข่ายกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ภายใต้ อว. โดยจะจัดส่งตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. เป็นต้นไป                                                                

รมว. นำทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่อ่างศิลา ชลบุรี ติดตาม U2T

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 : ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. และผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ที่ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่รับผิดชอบดำเนินโครงการในพื้นที่ 104 ตำบล ของ 7 จังหวัดภาคตะวันออก โดยปัจจุบันได้มีการจ้างงานคนในพื้นที่ไปแล้วกว่า 2,000 ตำแหน่ง หลังการตรวจเยี่ยม ได้มีนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T ใน ตำบลหนองตำลึง ชื่อนายพีรณัฐ อินทรารักษ์สกุล จากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มายื่นหนังสือถึง ศ.ดร.เอนก โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า “เคยสมัครงานราชการหรือบริษัท แต่ไม่รับคนพิการ ก่อนมาสมัครโครงการ U2T และได้รับโอกาสทำงาน อยากขอบคุณ ศ.ดร.เอนก ที่ให้โอกาสเรียนรู้การทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพและอยากให้จัดหางานให้หลังหมดสัญญา เพราะหางานได้ยากเนื่องจากเหตุผลที่เป็นคนหูหนวก”ดร.เอนก กล่าวว่า โครงการ U2T เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นโครงการที่ทำให้คน 6 หมื่นคนมีงานทำในช่วงวิกฤติโควิด มีมหาวิทยาลัย 76 แห่งทั่วประเทศ เข้ามาร่วมในโครงการเพื่อทำงานในพื้นที่ 3,000 ตำบล และตอนนี้ U2T ได้เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว ที่สำคัญ U2T เป็นทีมแนวหน้าของ อว. ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ลงพื้นที่ทำงานในชุมชนโดยปรับเพิ่มการทำงานให้มาช่วยสนับสนุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด เช่น การรณรงค์ป้องกันโควิดในชุมชน สนับสนุนการคัดกรอง ตรวจเบื้องต้นโดยวิธีหาแอนติเจน (ATK) ฉีดวัคซีน รวมทั้งทำกลไกกักตัวที่บ้านและชุมชน ขอชื่นชม ม.บูรพา ที่ทุ่มเทสรรพกำลังทุกด้านในการดำเนินในโครงการนี้เพื่อช่วยท้องถิ่น

อว. จับคู่ 40 ทีม บัณฑิต-นศ. U2T กับ 20 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม Matching Day ยิ่งใหญ่

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 : ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขา รมว.อว. ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษา รมว.อว ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วย รมว.อว. ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ(U2T) ร่วมเปิดงาน U2T Matching Day ซึ่งเป็นการจับคู่ 40 ทีม U2T แฮกกาธอนที่ผ่านเข้ารอบจาก 8 ภูมิภาค กับ 20 หน่วยงานของ อว. ในรูปแบบออนไลน์ ที่สตูดิโอ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติโดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า การจัดกิจกรรม U2T Matching Day เพราะถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของ U2T จำได้มั้ยว่า 1 ก.พ. อว.คิ๊ กออฟโครงการ ถึงขณะนี้ เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้วที่เราส่ง 76 มหาวิทยาลัย บัณฑิต นักศึกษา ประชาชนที่ได้รับการจ้างงานกว่า 6 หมื่นคน ลงพื้นที่ทำงานใน 3,000 ตำบล ซึ่งช่วงของโควิด - 19 U2T มีการปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานมา สนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข โดยร่วมออกหน่วยปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเชิงรุกในชุมชน หรือ CCRT (Comprehensive COVID-19 Response Team) ใน 3,000 ตำบล โดยสนับสนุนการคัดกรอง ตรวจเบื้องต้นโดยวิธีหาแอนติเจน (ATK) ฉีดวัคซีน รวมทั้งทำกลไกกักตัวที่บ้านและชุมชน หรือ Home Isolation/ Commmunity Isolation เราจึงเป็นกองหนุนที่มีคุณภาพและเชื่อใจได้รมว.อว. กล่าวต่อว่า สำหรับกิจกรรม U2T Matching Day เป็นผลต่อเนื่องมาจาก การจัดแข่งขัน U2T แฮกกาธอน ซึ่งมีผู้สมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมถึง 965 ทีม หรือกว่า 5,000 คน จาก 8 ภูมิภาค โดยรอบแรกได้ทำการคัดเลือกจาก 965 ทีม ให้เหลือ 300 ทีม จากนั้นจึงคัดเหลือ 40 ทีมสุดยอดผ่านเข้ารอบสุดท้าย เพื่อแข่งชิงแชมป์ประเทศจึงทำให้เกิดกิจกรรม Matching day ขึ้น โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือก 40 ทีมจะจับคู่กับหน่วยงานภายใต้ อว. อีก 20 หน่วยงานมาร่วมบ่มเพาะการพัฒนานวัตกรรม รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ฝึกฝน ทดลองทดสอบกับทั้ง 20 หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านแตกต่างกันไป ถือเป็นการศึกษาแบบใหม่เพื่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ที่สำคัญ กิจกรรมนี้จะทำให้ทีม U2T ได้รู้จักกับคนในพื้นที่ รู้จักนายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน U2T จึงเป็นโครงการที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คนที่ร่วมโครงการนี้จึงได้รับโอกาสครั้งสำคัญ เป็นโอกาสที่คนรุ่นก่อนไม่มี โครงการ U2T เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ใช่ของผู้ใหญ่ ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้เห็น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้น้องๆ รุ่นต่อจะได้เข้ามามีส่วนร่วม และอาจขยายผลไปอีก 4,000 กว่าตำบลจนครบทั้งประเทศ ตนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน เพราะทุกคนคือผู้กล้า ที่กล้าคิด กล้าแสดงออก เพื่อนำประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่ออนาคตของพวกเราทุกคน.

อว. ปล่อยขบวนคาราวาน “ส่งคืนพื้นที่ปลอดภัยสู่ชุมชน” ทำความสะอาดพื้นที่ศูนย์พักคอย-โรงพยาบาลสนาม นำร่อง 35 แห่ง

 เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ส่งคืนพื้นที่ปลอดภัยสู่ชุมชน” โดยมี ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. และผู้บริหาร อว. เข้าร่วม ที่สำนักงานปลัด อว. ถ.พระรามที่ 6 กรุงเทพฯศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาวน์ครั้งใหญ่หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 4 เป็นระยะเวลากว่า 6 สัปดาห์ จนถึงวันนี้ที่ประกาศคลายล็อคฯ เพราะสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าดีขึ้นมาก มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันจำนวนลดลง ผู้หายป่วยกลับบ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไร รัฐบาลก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการที่จะกลับมาชีวิตอย่างปลอดภัย อว.จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งคืนพื้นที่ปลอดภัยสู่ชุมชน” โดยการปล่อยขบวนคาราวานนำความรู้และเทคโนโลยีของทุกหน่วยงานใน อว. ลงพื้นที่ไปทำความสะอาดศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม นำร่อง 35 แห่งก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ หลังจากที่ศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามเหล่านี้ปิดตัวไป เพื่อคืนพื้นที่สะอาดปลอดเชื้อให้กับชุมชน โดยมีอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมถึงแนวทางการปฏิบัติในการทำความสะอาดพื้นที่โรงพยาบาลสนาม โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ซึ่งมีความรู้ในเรื่องวิธีการเตรียมสารฆ่าเชื้อ และวิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นอย่างดี จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ชุมชนจะได้พื้นที่ปลอดภัยกลับคืนแน่นอนด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. กล่าวว่า การปล่อยรถคาราวานลงปฏิบัติการในวันนี้เป็นการส่งสัญญาณสำคัญว่าประเทศกำลังดีขึ้นจากสถานการณ์โควิด และได้แสดงให้เห็นถึงพลังของ อว. ตามนโยบายของ รมว.อว.  ที่ต้องการให้เราเป็นกองหนุนที่สำคัญทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดเป็นพลังการขับเคลื่อนทางสังคมที่สำคัญ โดย อว. จะเข้าไปทำความสะอาดพื้นที่ซึ่งมีคนติดเชื้อโควิดแต่ละแห่งด้วยวิธีการที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ทำจนแน่ใจว่าสะอาดเรียบร้อย แล้วจากนั้นจึงให้คำรับรองว่าพื้นที่นั้นปลอดภัยแล้ว ส่งคืนความปลอดภัยให้กับคนไทยทุกคน นอกจากนั้น อว. ยังพร้อมให้ความรู้สำหรับผู้ที่ต้องการทำความสะอาดพื้นที่ด้วยตนเอง โดยให้ทั้งวิธีการ คู่มือการดำเนินงานว่าจะทำอย่างไร ใช้น้ำยาแบบไหนที่ปลอดภัย โดยงานนี้มีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ที่จะเข้ามาเป็นหน่วยขับเคลื่อนหลัก ซึ่งนอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐานปลอดภัยแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่จะต้องให้คำรับรองความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่หลังจากที่ดำเนินการแล้วเสร็จอีกด้วย

“เอนก” โชว์ 12 ผลงานเด่นช่วยชาติทั้งแก้ปัญหาว่างงาน

“เอนก” โชว์ 12 ผลงานเด่นช่วยชาติทั้งแก้ปัญหาว่างงานผ่าน U2T สร้าง รพ.สนามรับผู้ป่วยโควิด ฉีดวัคซีนให้ประชาชนกว่า 7 แสนโดส เรียนไม่จบไม่ต้องถูกรีไทร์ ได้ศาสตรจารย์โดยไม่ต้องส่งผลงานวิจัยไปจนถึงการทำวิจัยแก้จนใน 10 จังหวัดพร้อมโครงการสำรวจอวกาศที่ใหญ่ที่สุดของไทย ยกระดับเศรษฐกิจประเทศ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าว “12 เดือน 12 ดี” ผลงานของ อว. ในรอบปีงบประมาณ 2564 ว่า ผลงานทั้ง 12 เรื่องของ อว. มีทั้งเรื่องการสร้างผลประโยชน์ในระยะสั้น หรือเฉพาะหน้าเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน และสร้างผลประโยชน์ระยะกลางและระยะยาวให้กับประเทศ โดยในระยะสั้นที่ อว.ดำเนินการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศหรือ U2T ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานจากวิกฤติโควิด-19 เป็นการจ้างงานของรัฐบาลที่ทำได้อย่างรวดเร็วที่สุด ทำให้คน 6 หมื่นคนที่เป็นลูกหลานชาวบ้านได้มีงานทำกระจายไป 3 พันตำบลทั่วประเทศและเป็นครั้งแรกที่เอามหาวิทยาลัยกว่า 76 แห่งลงสู่ตำบลเพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในชุมชนหลายร้อยล้านบาท ล่าสุดกำลังขออนุมัติโครงการ U2T ในระยะที่ 2 อีก 4 พันกว่าตำบลเพื่อจ้างงานอีกกว่า 1.2 แสนคน ใช้งบประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท รมว.อว.กล่าวต่อว่า เรื่องต่อมาคือ รพ.สนามสู้ภัยโควิด ที่เป็นกองหนุนในยามวิกฤติ อว.เปิด รพ.สนาม 60 กว่าแห่งทั่วประเทศเกือบครบทุกจังหวัดโดยใช้เครือข่ายมหาวิทยาลัย รับคนไข้มาแล้ว 6-7 หมื่นคน การสร้าง รพ.สนาม เป็นการผันตัวเองอย่างรวดเร็วของ อว.ในยามวิกฤต แสดงให้ประชาชนเห็นว่ามหาวิทยาลัยลงจากหอคอยงาช้าง หน่วยงานวิจัยออกจากป้อมปราการ เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนต่อสู้ในยามวิกฤติ ต่อมาคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด โดย อว. ได้เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 14 จุดและต่างจังหวัด 76 จุด ซึ่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้วกว่า 7 แสนโดส นอกจากนี้ ยังมีโครงการ อว.พารอด เป็นโครงการที่ดึงจิตอาสาและอาสาสมัครมาช่วยผู้ป่วยโควิดทรี่กักตัวอยู่บ้านหรือในชุมชน โดยการโทรศัพท์ไปให้กำลังใจและคำปรึกษาพร้อมส่งกล่องยาสมุนไพรและอุปกรณ์จำเป็นไปให้ โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนมาร่วมบริจาคสิ่งของจนเกิดเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคม ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการ BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลที่ อว.ร่วมขับเคลื่อน ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ของประเทศในระยะกลางและระยะยาวเพื่อนำไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม 4.0 และนำไปประเทศไทยไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจแบบทำน้อยได้มาก ไม่ใช้ทำมากได้น้อยเหมือนเดิมอีกต่อไป ขณะเดียวกันมีโครงการธัชชาหรือวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อทำให้เห็นว่า อว.ไม่ได้มีแค่วิทยาศาสตร์ เทคโลยีและนวัตกรรม แต่ยังมีเรื่องของสังคมศาสตร์ฯ ด้วยเพื่อสร้างความสมดุลให้กับทุกศาสตร์ ผลงานสำคัญคือการทำเรื่องสุวรรณภูมิศึกษา เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศไทยย้อนหลังไป 2,500 – 3,000 ปี เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าคนไทยมีอารยธรรมและยังช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ “ที่สำคัญยังมีผลงานเรื่องการวิจัยความยากจนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า โดยการทำวิจัยใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดของประเทศไทยจนได้ตัวเลขคนจนจริงๆ มากว่า 4 แสนคน เพื่อจัดทำเป็นบิ๊กดาต้านำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนที่ตรงจุดและแม่นยำ พร้อมมีการติดตามประเมินผลจนกว่าจะหายจนอีกด้วย” รมว.อว.กล่าวและว่า ยังมีเรื่องของการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยไม่ต้องส่งงานวิจัยหรือตำราก็ได้ โดยมีคุณสมบัติ อาทิ ทำงานรับใช้สังคมและท้องถิ่น ทำงานสร้างสรรค์หรือด้านศิลปะ มีการสอนที่เป็นเลิศ เป็นต้น การลดค่าเทอมเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาและผู้ปกครองในช่วงโควิด ถือเป็นการแบ่งเบาภาระที่เป็นรูปธรรมอีกผลงานหนึ่งของ อว. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวด้วยว่า ขณะที่ การยกเลิกการกำหนดระยะเวลาสำเร็จการศึกษา เรียนไม่จบไม่ต้องถูกรีไทร์ เป็นอีกเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนไปด้วยพร้อมกับทำงานไปด้วย ผลงานต่อมาคือเรื่องของ TSC โครงการสำรวจอวกาศที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ และสุดท้ายคือการเปิดหลักสูตร WINS ที่เป็นการนำผู้บริหารระดับสูงของ อว.มาอบรมและทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความรักสามัคคี พร้อมช่วยสร้างและพัฒนางานที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศ “ยืนยันว่า อว.ทำงานดี เร็ว คล่องและประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างไม่ติดขัด ขอย้ำว่าความสำเร็จทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้ทำคนเดียว แต่เป็นผลงานจากความร่วมมือทั้งทีมการเมือง ทีมผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของ อว.ทกคน” รมว.อว.ระบุ

โครงการ Social Innovation Key Game & Challenge สำหรับชาว U2T คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกรับรางวัล

โครงการ Social Innovation Key Game & Challenge จะช่วยให้ชาว U2T ได้พัฒนาทักษะเพื่อฝึกเป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมชุมชนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการพัฒนา Soft Skills แห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เสริมสร้างการทำงานร่วมมือภายในชุมชน พร้อมเรียนรู้กระบวนการทำงานและเสริมสร้างธุรกิจ ร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ยังช่วยส่งเสริมกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop ที่จะจัดขึ้นภายใต้โครงการผู้เข้าร่วมโครงการ และ U2T จะได้รับเกมเพื่อการพัฒนาทักษะ Social Skills และเรียนรู้กระบวนการวิศวกรสังคม 3 ตัวใน Online Community ของ U2T ได้แก่Choose The Right : เกมความไว ลับคมประสาทสัมผัสของผู้เล่น ให้มีความฉับไว กระตือรือร้นต่อภาวะปัจจุบัน ผู้เล่นจะได้เลือกว่า ประโยคตรงหน้าเป็น Fact (ความจริง) หรือว่าเป็น Opinion (ความคิดเห็น)Different Life : เกมที่ให้ผู้เล่นรับบทบาทเป็นผู้บริการส่งของ ส่งของให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้ความเหมาะสมของเวลา และเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคลProduction Line : เกมจำลองบทบาทเป็นผู้จัดการสายการผลิต ผู้เล่นจะต้องคอยปรับปรุง พัฒนากระบวนการผลิตให้ดีขึ้น ได้ผลลัพธ์มากขึ้น ใช้เวลาผลิตลดลง เพื่อกำไรสูงสุดของบริษัทด้วยตัวเองพิเศษ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถเล่นเกมได้คะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกของแต่ละเกมจะได้ เสื้อลายเกมพิเศษของโครงการ “Social Innovation Key Game & Challenge” พร้อมสมุดบันทึกวิศวกรสังคมรุ่นพิเศษสำหรับลงพื้นที่ทำงานสร้างนวัตกรรมชุมชน

"12 เดือน 12 ดี" กับรัฐมนตรีเอนก พบกับเรื่องแรก U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล

"12 เดือน 12 ดี" กับรัฐมนตรีเอนก พบกับเรื่องแรก U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล กับอีกหนึ่งผลงานของกระทรวง อว. ที่เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน สร้างรากฐานเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนต่อไป                                                                      

“กองหนุนในยามวิกฤติ อว. เปิด รพ. สนามสู้ภัยโควิด ก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน”

“กองหนุนในยามวิกฤติ อว. เปิด รพ. สนามสู้ภัยโควิด ก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน” โครงการดีๆ กับ “12 เดือน 12 ดี” by ท่านอเนก เหล่าธรรมทัศน์ อีกหนึ่งผลงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย อว. เปิด รพ.สนาม 60 กว่าแห่งทั่วประเทศเกือบครบทุกจังหวัดโดยใช้เครือข่ายมหาวิทยาลัย รับคนไข้มาแล้ว 6-7 หมื่นคน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)                                                                   

เริ่มแล้ว U2T BOOTCAMP KICK-OFF DAY

28 กันยายน 2564 ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน U2T BOOTCAMP KICK-OFF DAY โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯเข้าร่วมงาน และกิจกรรมปฐมนิเทศที่ผู้เข้าร่วมทุกท่านและ U2T คอมมูนิตี้ทุกคน ได้มาร่วมเล่น พูดคุย และเรียนรู้รวมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเป้าหมายโครงการ สร้างแรงบันดาลใจ และกระชับความสัมพันธ์กับทีมอื่น ๆ รวมทั้งพี่ ๆ จากหน่วยงานกระทรวง อว. มาแชร์เรื่องคุณค่าของการพัฒนาชุมชนบ้านเกิด หรือผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นผ่านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการเล่าเรื่อง (Brand Story) และการทำการตลาด เพื่อช่วยแรงบันดาลใจในการการมอบคุณค่าให้กับชุมชน และร่วมให้กำลังใจ 40 ทีมแข่งขัน U2T ตัวแทนชุมชนและภูมิภาคทั่วไทยที่ผ่านการคัดเลือก ในการเตรียมตัวพัฒนาต้นแบบผลงานในการนำไปต่อยอดพัฒนา ที่จะเข้าสู่การทำ Hackathon ในโครงการต่อไป

อว.จ้างงาน U2T ระยะที่ 2 อีก 1.5 แสนคน ครอบคลุม 7,435 ตำบลทั่วประเทศฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยหลังประชุมโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ในระยะที่ 2 ร่วมกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ว่า อว.อยากจะทำอะไรที่มีผลดีต่อประเทศ อย่างปีที่ผ่านมาเราเอา U2Tไปช่วยเรื่องโควิดก็ได้ผลเป็นอย่างมาก ในขณะนี้เราก็จะนำ U2Tไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่ง U2T นั้นเปรียบเสมือนกำลังสำรองของรัฐบาล ส่วนปีหน้า อว.จะทำเรื่องเศรษฐกิจภูมิภาค และ BCG ซึ่งจะเป็นวาระแห่งชาติ เราต้องการให้เด็กเข้าใจวาระแห่งชาติ รู้จักยุทธศาสตร์ของชาติ ไม่ใช่ทำไปเรื่อย เราจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีประโยชน์ มีรูปธรรม และสามารถช่วยพัฒนาประเทศชาติได้ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. กล่าวว่า โครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มีการกระจายการจ้างงานอยู่ในพื้นที่ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ ครบทุกจังหวัด มีองค์ประกอบของการจ้างงานบัณฑิต ประชาชน นักศึกษา อยู่ที่ 60,000 คน ขณะนี้จ้างงานได้สูงสุด 97.5% และยังมีกิจกรรมในแง่ของการยกระดับเศรษฐกิจ มีเงินหมุนเวียนจากการจ้างงานมากกว่า 700 ล้านบาท ในการเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ ก.พ. -ปัจจุบัน งบประมาณโครงการโดยรวมอยู่ที่ 10,629 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 7,283 ล้านบาท“ส่วน โครงการ U2T ระยะที่ 2 จะเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นและต่อยอดจากระยะที่ 1 ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 1.การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 2.การดูแลเศรษฐกิจชุมชน แก้ไขปัญหาต่างๆ ตามบริบทของชุมชน และ 3.การจ้างงานบุคลากรที่มีความรู้ มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เป็นประเด็นสำคัญ จะมีการปฏิบัติงาน 7,435 ตำบลทั่วประเทศ จ้างงาน 150,000 คน และจะมีเพิ่มในเรื่องของการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลและการจัดทำข้อมูล Community Big Data เป้าหมายของโครงการจะเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน การบูรณาการใช้ข้อมูลที่มีอยู่รองรับการฟื้นฟูของประเทศหลังจากผ่านจากวิกฤตโควิด-19 สำหรับ 3,000 ตำบลที่มีการจ้างงานอยู่แล้วก็จะเป็นการต่อยอดจากระยะที่ 1 เมื่อจบโครงการในระยะที่ 2 แล้วทุกๆตำบลของประเทศไทย ก็จะได้รับการจ้างงานอยู่ในระดับเดียวกัน ในระยะที่ 2 โดยประมาณการงบประมาณที่ประเมินไว้อยู่ที่ 4,727 ล้านบาท”ปลัด อว.กล่าว

อว.นำทีมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผนึกกำลัง สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ลงพื้นที่ ช่วยผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเล

อว.นำทีมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผนึกกำลัง สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยลงพื้นที่ ช่วยผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเล ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชน6 ตุลาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. พร้อมคณะผู้บริหาร นักวิจัย สังกัด อว. และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ลงพื้นที่ ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม พบผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเล (หอยแมลงภู่) เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการ สามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพตามมาตรฐาน รวมถึงต่อยอด เพื่อขอมาตรฐานต่อไปโดยมี นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม ให้การต้อนรับจากการลงพื้นที่ พบว่าผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากหอยแมลงภู่ให้ได้รับมาตรฐาน คุณภาพดี รสชาติไม่เปลี่ยนหลังจากใส่บรรจุภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งต้องการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่ให้เกิดประโยชน์ มีมูลค่าเพิ่ม วศ. จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาทดสอบคุณภาพ พร้อมให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ และการขอมาตรฐานมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เป็นการประกันคุณภาพและเพิ่มคุณค่าทางอาหาร พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะทำงานเครือข่าย U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และสมาพันธ์ SME ไทย ดึงความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่มี มาร่วมกันผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

เปิดตัวเหล่า Mentor มากประสบการณ์ ที่จะมาให้คำแนะนำกับน้องๆ ทั้ง 40 ทีม ในโครงการ U2T Bootcamp

เตรียมพบกับเหล่า Mentor มากประสบการณ์ ที่จะมาให้คำแนะนำกับน้องๆ ทั้ง 40 ทีม ในโครงการ U2T Bootcamp เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมตัวพัฒนาต้นแบบผลงานในการนำไปต่อยอดพัฒนา ก่อนลงสนามนำเสนอผลงานที่ U2T National Hackathon ปลายปีนี้ ในระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.30

เตรียมพบกับ Esports Tourtnament ในรายการ U2T Esports สุดยิ่งใหญ่ !!พร้อมชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท

เตรียมพบกับการแข่งขัน Esports Tourtnament ในรายการ U2T Esports สุดยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น !!พร้อมชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2564 – 5 พฤศจิกายน 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.u2t.ac.thเตรียมฟอร์มทีมมาให้ดี แล้วมาระเบิดความมันส์ไปพร้อมกัน !!!!***ใครที่อยากร่วมสนุกกับกิจกรรมแต่ยังไม่มีอีเมล @u2t.ac.th ติดต่อได้ที่หน้าติดต่อเราได้เลยนะครับ

ผช.รมต.อว.ปลื้ม U2T มรภ.หมู่บ้านจอมบึงใช้ศาสตร์ 4DNA โชว์อัตลักษณ์ท้องถิ่น

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมต.ประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) หมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ที่ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง รับผิดชอบใน 35 ตำบล 10 อำเภอของ จ.ราชบุรี มีการจ้างงานทั้งสิ้น 700 อัตรา ปรากฎว่ามีการดำเนินกิจกรรมใน 35 ตำบล รวมทั้งสิ้น 179 กิจกรรม ตั้งแต่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้าโอท็อป(OTOP) การสร้างพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ การยกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ไปช่วยชุมชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม การดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ จากการที่ตนได้เห็นผลงานบางส่วนของโครงการ U2T พบว่าส่วนใหญ่เป็นผลงานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีผช.รมต.อว.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนด้านโควิด -19 พร้อมมอบกล่อง อว.พารอด ให้กับมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์พักคอยของ มรภ.หมู่บ้านจอมบึงและเดินทางไปแหล่งเรียนรู้บ้านมีดบิน ต.จอมบึง ซึ่งมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพการตีมีดเหล็กลายโบราณ เชื่องโยงเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ จ.ราชบุรี และ เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้บ้านช่างสกุลบายศรีของตำบลเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม ซึ่งเป็นกระบวนการนำศาสตร์ 4DNA ซึ่งก็คือศาสตร์ที่ช่วยถอดจุดเด่นของจังหวัดตั้งแต่ คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจสังคม อาณาเขต ประเพณีวัฒนธรรม และจุดเด่นอื่นๆ มาใช้ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ หรือลวดลายสินค้าพิเศษเพื่อไปใช้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ หรือเรียกว่าเป็นการต่อยอดพัฒนาสินค้า และศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจนได้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวตลาดนี้มีปราชญ์สร้างงานสร้างรายให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน.“U2T ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยบูรณาการและประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และให้มีการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างน่าพอใจ” ดร.ดนุช กล่าว

“เอนก” ปลื้มโครงการ U2T ทำให้ชาวบ้านพอใจ นักศึกษาได้ความรู้ เตรียมเฟส 2 จ้างงานครบทุกตำบลทั้ง 77 จังหวัด

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564 : ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อม ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ​ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิพย์ ผช.รมต.อว. และคณะผู้บริหาร อว. ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและผู้บริหารให้การต้อนรับรศ.ดร.ชยาพร รายงานความคืบหน้าโครงการฯ ว่า มฟล. จ้างงานรวม 341 คน ลงพื้นที่ทำงานและเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชนใน 15 ตำบลของ 6 อำเภอ คือ เมืองเชียงราย ขุนตาล เชียงของ แม่จัน แม่สาย แม่ฟ้าหลวงและเวียงป่าเป้า ทั้งนี้ จากการทำงานร่วมกับชุมชนพบว่าร้อยละ 60 ชุมชนต้องการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ต้องการให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้มีการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยววิถีใหม่ ตามลำดับ ขณะที่ ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานของ U2T ได้ก่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชน มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน เกิดช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ เกิดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้นด้าน ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก กล่าวว่า ตนประทับใจผลงาน U2T ของ มฟล. โดยเฉพาะในเรื่องการแปรรูปอาหารที่เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ชาวบ้านพอใจ นักศึกษาได้ความรู้ อาจารย์ก็ได้ให้วิชา ทั้งชุมชน มหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ได้รับการจ้างงานจึงอยากให้โครงการ U2T ได้ทำต่อ โดยหลังจากนี้จะมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในโครงการ U2T เพื่อเอาผลผลิตที่ได้ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศให้ได้สำหรับโครงการ U2T ระยะที่ 2 จะเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นและต่อยอดจากระยะที่ 1 ขณะนี้ กำลังดำเนินการส่งข้อเสนอโครงการให้สภาพัฒน์ฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย U2T ระยะ 2 นี้ จะขยายไปให้ครบทุกตำบล ครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และจะมีการยกระดับการทำงาน โดยเน้นเรื่องของ 1. ขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาตามเขตเศรษฐกิจพิเศษ ใน 5 ภูมิภาค เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาพื้นที่รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 2. BCG โมเดล ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ” รมว.อว. กล่าวทั้งนี้ อว. จะรวบรวมทุกมหาวิทยาลัยในสังกัดมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ เช่น ภาคเหนือ ก็จะให้มหาวิทยาลัยระดับนำในพื้นที่อาทิ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เชียงใหม่ มรภ.เชียงราย มทร.ล้านนา ฯลฯ มาร่วมกันทำเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือท่องเที่ยว ทำงานร่วมกับทางจังหวัด เช่น เอาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการ U2T มานำเสนอและจำหน่ายในรูปแบบงานมหกรรมสินค้ารูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาและชาวบ้านช่วยกันทำและใน U2T ระยะที่ 2 ก็จะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นจากตำบลขยายสู่จังหวัดและภูมิภาค“สำหรับโครงการ U2T ถ้าไม่คิดให้ใหญ่ก็จะกลายเป็นแต่อีเว้นท์ อว. ต้องกัดไม่ปล่อย นี่ถือเป็นลมหายใจใหม่ๆ ให้กับมหาวิทยาลัย เราต้องทำเรื่องพวกนี้ให้กับประเทศชาติ เป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน นับแต่วันนี้ถึงปี 65 ให้ถือเป็นปี “ปล่อยของ” ของ อว. ต้องแสดงศักยภาพที่มีให้คนไทยได้เห็น รวมถึงนานาชาติในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC ในปีหน้าด้วย” ดร.เอนก กล่าวระบุ

ข่าวดีรับเปิดประเทศ! อว.จะฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มให้นักศึกษา บุคลากร และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T

ข่าวดีรับเปิดประเทศ! อว.จะฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มอีก 1,558,175 คน 3,116,350 โดส ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ปลัด อว.เผย ครอบคลุมครบถ้วนทุกคน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ตามนโยบาย “เปิดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัย” ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 30 ต.ค. ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว. ได้รับการสนับสนุนจัดสรรวัคซีนโควิด-19 จากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อฉีดให้กับนักศึกษา บุคลากร และผู้เข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ทั่วประเทศ เพิ่มเติมอีกจำนวน 1,558,175 คน หรือเท่ากับ 3,116,350 โดส ซึ่งจะครอบคลุมครบถ้วนทุกคน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้ตามปกติ เป็นไปตามนโยบาย “เปิดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัย” ของรัฐบาล รวมถึงให้ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ที่จะต้องลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนทั้ง 3,000 ตำบลที่กระจายอยู่ทุกจังหวัดทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างปลอดภัยอีกด้วยปลัด อว. กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ อว. ได้รับการจัดสรรวัคซีนมาแล้ว จำนวน 890,000 โดส จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้นำไปฉีดให้แต่ละกลุ่มตามความจำเป็นของสถานการณ์ ทำให้ อว. สามารถปฏิบัติงานสำคัญได้ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จึงได้ขอความอนุเคราะห์จัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ซึ่งในการประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเต็มจำนวน โดยจะสนับสนุนไปยังแต่ละจังหวัดตามจำนวนดังกล่าว โดยกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดและกรุงเทพมหานครในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อฯ เพื่อให้จัดสรรวัคซีนสำหรับนิสิตนักศึกษา บุคลากรในสังกัด อว. และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ขณะที่ อว. จะมีหนังสือแจ้งอธิการบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการร่วมกันต่อไปโดยเร็ว

U2T Bootcamp: Acceleration ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม Workshop ครั้งสุดท้ายในU2T Bootcamp: Accelerationซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.45 - 16.30 น. ณ ช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มWorkshop: How To Make Effective Pitching Slideเวลา 10.00 - 12.00 น. โดยคุณแอม ชญาณัฐเพื่อให้คำแนะนำและให้ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้นจากการจัดทำสไลด์นำเสนอ ทั้งในด้านข้อมูล รูปภาพ ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และยังสร้างความประทับใจ ให้ทีมของคุณน่าสนใจ โดดเด่นยิ่งขึ้นขณะนำเสนอผลงาน หรือ Pitching ในงาน National Hackathon  Workshop : Rapid Prototypingเวลา 13.00 - 16.00 น. โดย KCT Academyกิจกรรมที่จะช่วยให้คุณเห็นถึงความสำคัญของการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์ ผ่านการเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่จะมาถ่ายทอดให้ทีมเรียนรู้เกี่ยวกับความหมาย ประเภท ความสำคัญ และเทคนิคการขึ้นต้นแบบเพื่อนำไปต่อยอดหรือปรับใช้กับผลงานของทีมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยผู้รับชมผ่าน FB Live สามารถรับชมผ่านการถ่ายทอดสดได้ทางเพจFacebook: U2T Online Community หรือตามลิงก์ที่แนบไว้นี้ https://www.facebook.com/events/949832912553271

NEWS : TED Fund จัดกิจกรรม Grooming เยาวชน จากโครงการ U2T สำหรับเตรียมความพร้อมการแข่งขัน “แฮกกาธอน ระดับประเทศ”

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรม Grooming เตรียมความพร้อมในการนำเสนอแผนธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับเยาวชนจากโครงการ U2T คือ โครงการ จิ๊หริด แบรนด์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปภัมภ์ และโครงการ แม่ลาน FRESHMART มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับเตรียมความพร้อมในการนำเสนอแผนธุรกิจในการแข่งขัน National Hackathon ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2564 ณ อิมแพคเมืองทองธานี โดยการจัดกิจกรรรมอบรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กล่าวต้อนรับและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาโครงการ TED Fundการจัดกิจกรรมอบรมในครั้งนี้ TED Fund ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการของ TED Fund คือ คุณวัชรินทร์ วิทยวีรศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไปสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย และที่ปรึกษาด้านเครือข่ายนวัตกรรม บจม.ซีพีออล์ และ ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บจม. บางจาก คอร์ปอเรชั่น มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การ Pitching และบ่มเพาะองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจแก่น้องๆ นอกจากนี้ TED Fund ยังได้รับเกียรติจาก สพ.ญ.ลัลน์ลลิต สุคนธรัตนสุข เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์ ProteGo (Protein on the Go) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก TED Fund มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อยอดไอเดียธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแก่น้องๆ ทั้ง 2 ทีมTED Fund เป็น 1 ใน 20 หน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ที่จะเข้ามาร่วมบ่มเพาะองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของน้องๆ ให้มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันโครงการ U2T แฮกกาธอน ในระดับประเทศ และมุ่งหวังที่จะผลักดันให้น้องๆ U2T ได้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จตอบรับกับภารกิจของ TED Fund ที่ได้ผลักดันมาตลอดระยะเวลา 5 ปี

อว.ประกาศสุดยอด 5 ทีมแชมป์ประเทศไทยแข่ง U2T แฮกกาธอน

อว.ประกาศสุดยอด 5 ทีมแชมป์ประเทศไทยแข่ง U2T แฮกกาธอน มาจาก “มทร.สุวรรณภูมิ - ม.ทักษิณ - มทร.ล้านนา - มรภ.วไลยอลงกรณ์ - มรภ.บุรีรัมย์” ด้าน “ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล” ปลัด อว.ชี้โครงการ U2T ของรัฐบาล สำเร็จเกินคาด ใช้ศักยภาพคนรุ่นใหม่ร่วมพัฒนาชุมชนและประเทศที่เราอยู่ ขอบคุณคนรุ่นใหม่ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหวัง มีอนาคต เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดย “โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” หรือ U2T ได้ประกาศผลการประกวดชิงแชมป์ U2T National Hackathon 2021 ระดับประเทศ มี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ในฐานะประธานโครงการ U2T เป็นประธาน ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ที่ปรึกษา รมว.อว.และ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารโครงการ U2T นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อพวช. ตลอดจน 40 ทีมสุดท้ายโครงการ U2T ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศมาร่วมจัดนิทรรศการผลงานพร้อมกับรอลุ้นผลการประกวดโดยก่อนการประกาศผลการชิงแชมป์ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า โครงการ U2Tเป็นความภูมิใจของ อว.ที่ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการใช้พลังของเยาวชน คนรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาประเทศ โดย U2T ไม่ได้หวังผลแค่การจ้างงานเท่านั้น แต่เราหวังให้ผู้ได้รับการจ้างงานมาทำงานกับชุมชน ปรับบทบาท อว.เพิ่มจากสร้างคนไปสู่กระทรวงแห่งการพัฒนา โดยมีการทำงานลงพื้นที่อย่างแท้จริง เก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้นำไปสู่การพัฒนา ขณะที่การแข่งขัน แฮกกาธอนเป็นกิจกรรมสำคัญมาก มีการให้ความเห็น ระดมสมองของเยาวชน อาจารย์และประชาชน จากการลงพื้นที่จริง มีการนำเสนอไอเดียเพื่อนำมาพัฒนาชุมชน มีเกือบหนึ่งพันทีมเสนอไอเดียในการพัฒนา ผ่านการประกวดทั้งในระดับภูมิภาคจนถึงระดับชาติ ผลแพ้ชนะไม่สำคัญ ทุกคนชนะแล้วตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาอยู่ในโครงการ ทุกคนคือส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชุมชนที่เราอยู่ ประเทศที่เราอยู่ ขอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ นักศึกษา บัณฑิตและประชาชนในโครงการทุกคนภูมิใจกับตัวเอง ในการที่ได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศชาติ ขอบคุณคนรุ่นใหม่ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหวัง มีอนาคต และอนาคตที่ว่าก็อยู่กับคนรุ่นใหม่ในวันนี้จากนั้นถึงเวลาประกาศผลการชิงแชมป์ U2T National Hackathon 2021 ท่ามกลางการลุ้นระทึกของทั้ง 40 ทีมสุดท้ายและนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ที่มาเชียร์รวมทั้งประชาชนที่มาร่วมติดตามและลุ้นกันอย่างแน่นขนัดโดย 5 ทีมที่ชนะเลิศได้แชมป์ U2T National Hackathon 2021 ทีมแรก ได้แก่ ผลงาน “หัตถสานบ้านต้นตาล สุ่มปลายักษ์” จาก ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นำเสนอการสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากฐานมรดกของชุมชนให้มีความสอดคล้องกับความปกติใหม่ ผ่านประเพณีชาติพันธุ์ไทย – ญวนชุมชนบ้านต้นตาล ศิลปะหัตถสานที่บ้านดินสอ เป็นต้น ทีมที่สอง ได้แก่ ผลงาน “Palm Packaging” ของ ม.ทักษิณ ที่นำเอาปาล์มน้ำมันที่เหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลาสติก ทีมที่สาม ได้แก่ ผลงาน “Nile Creek Rescue” จาก ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่นำเสนอ การพัฒนาระบบเติมอากาศเพื่อแก้ปัญหาปลาน็อคน้ำ ทีมที่สี่ ได้แก่ ผลงาน “จิ๊หริด แบรนด์” จาก ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอการสร้างและฟื้นฟูอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดของชุมชนด้วยแนวคิดการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทีมที่ห้า ได้แก่ ผลงาน “ตำบลเจริญสุข” ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ นำเสนอการพัฒนาลายผ้าภูอัคนีให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศทั้งนี้การประกาศชื่อแต่ละทีมที่ได้แชมป์ ทั้งทีมที่ได้แชมป์และกองเชียร์ต่างร้องเฮกันสนั่น และสวมกอดกันด้วยความดีใจ บางทีมถึงกับร้องไห้นอกจากนั้น ยังมีการประกาศรางวัลขวัญใจมหาชน ที่มาจากการโหวตของผู้เข้าร่วมโครงการ U2T กว่า 3 หมื่นคน ได้แก่ทีมผการันดู จาก ม.ราชภัฎบุรีรัมย์ จากผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่อวเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ใน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า อว.จะสนับสนุนต่อยอดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์จริงและมีมาตรฐานดียิ่งขึ้น รวมทั้งการขยายช่องทางการตลาดด้วย.

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอว.เยี่ยมชมผลการดำเนินโครงการ (U2T) ของวิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู

(29 พ.ย. 64) ที่ วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู - ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เยี่ยมชมผลการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ของวิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู ที่รับผิดชอบดำเนินการ 3 ตำบล ใน จ.หนองบัวลำภู ได้แก่ ต.บ้านพร้าว ต.กุกดินจี่ และ ต.หนองบัวใต้ โดยมีผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภูและคณะ ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินโครงการ และนำชมนิทรรศการ U2T บริเวณงาน รวมถึงเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาศาสตร์พระราชา วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์ใน จ.หนองบัวลำภู จากนั้นเป็นการลงพื้นที่ ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมชมโครงการ U2T ของตำบล ซึ่งได้นำเสนอในเรื่องกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพและการสร้างมูลค้าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการแปรรูปสินค้าการเกษตร

ผู้ช่วยรัฐมนตรี อว. เยี่ยมชม U2T บึงกาฬ

(1 ธ.ค. 64) ที่ จ.บึงกาฬ - ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.เอกราช ดีนาง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ รศ.ดร.ชวลิต อธิปัตยกุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ (U2T) ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.โนนสมบูรณ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ โดยกิจกรรมช่วงเช้าเป็นการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำพื้นที่ พร้อมร่วมชมนิทรรศการผลงาน U2T ทั้งในส่วนของการนำเสนอผลิตภัณฑ์และผลงานการพัฒนา จำนวน 31 ตำบล ของ จ.บึงกาฬ โดย อว.จ้างงานทั้งนี้ ในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ จ.บึงกาฬ มุ่งเน้นในด้านความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน และลดรายจ่ายในครัวเรือน เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในครัวเรือน การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และผลิตอาหารไก่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากนั้นในช่วงบ่ายคณะของผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้เดินทางเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียนรู้ สวนสุขถาวร บ้านโคกงาม ต.โนนสมบูรณ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ

รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เปิดการอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวความคิด (Mindset) ของเยาวชน ภายใต้โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล"

 (7 ธันวาคม 2564) รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวความคิด (Mindset) ของเยาวชน ภายใต้โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” โดยมี นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการ ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรีรองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เผยว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ U2T เป้าหมายสำคัญ คือ ต้องการให้เหล่าบัณฑิต นิสิต นักศึกษา มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพทั้งตนเอง พี่ๆ น้องๆ ในชุมชม ตำบลของเรา เพื่อที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างมูลค่าให้กับชุมชน ตำบลของเรา เชื่อว่าถ้าสังคมของเราเข้าใจกันมากขึ้นได้มีโอกาสพูดคุยกัน ทำงานร่วมกัน คงจะมีแต่สิ่งที่ดีๆ หลายชุมชนมีเสน่ห์ในตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการท่องเที่ยว หรือผลิตภัณฑ์ พอร่วมมือกันให้เกียรติในความเก่งซึ่งกันและกัน ทำอะไรก็จะประสบผลสำเร็จ ในปัจจุบันโลกค่อนข้างไปเร็ว แต่เราต้องอยู่ให้ได้ อยู่ให้เป็น เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในปัจจุบันก็คือ เรื่องของข้อมูล ถ้าจะทำอะไร ต้องมีข้อมูลที่ดี ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ โอกาสในการตัดสินใจและประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานจะยิ่งสูงขึ้นด้าน นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนลดผลกระทบจากภาวะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) จึงได้เกิดขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator เพื่อให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มประชาชนทั่วไป บัณฑิต และนักศึกษา จำนวน 60,000 คนให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยให้แต่ละคนไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มหาวิทยาลัยละ 1 ตำบล รวม 3,000 ตำบล เพื่อให้โครงการดังกล่าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะนักศึกษาซึ่งถือเป็นรากแก้วของประเทศ ได้มีแนวความคิดที่ สนับสนุนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเป็นฐาน จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมต้นแบบนำร่องเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวความคิด (Mindset) ของเยาวชน ภายใต้โครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ" ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างวิทยากรแกนนำให้มีจิตสำนึกของการรักชาติ รักแผ่นดิน เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อขยายผลไปตามสถาบันต่างๆ และประชาชนในพื้นที่ (2) เพื่อให้กิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นคนดีตามพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีอุดมการณ์ชาติ เกิดจิตสำนึกร่วมกันในการสร้างชาติ พัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมกัน (3) เพื่อสร้างความมีวินัยให้เยาวชนมีจิตอาสา ความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ตามพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 (4) เพื่อให้นักศึกษานำความรู้กลับไปพัฒนาแนวคิดที่จะทำให้ชุมชน มีการสร้างเงิน สร้างงาน สร้างรากฐานให้อนาคตของประเทศ มีแนวคิดในการพัฒนาประเทศในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป

รมว.อว. ตรวจเยี่ยมโครงการ u2t ม.ทักษิณ ย้ำมีเฟส 2 แน่นอน

รมว.อว. ตรวจเยี่ยมโครงการ u2t ม.ทักษิณ ย้ำมีเฟส 2 แน่นอน ครอบคลุมทุกพื้นที่ แนะ ม.ทักษิณ ขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมและ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ประเทศไทยและกระแสโลกาภิวัตน์12 ธันวาคม 2564 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เยี่ยมชม "ศิลปะการแสดง" ของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ๒ ชุด สลับด้วย "การแสดงดนตรีวงคณาจารย์ศิลปกรรมศาสตร์" พร้อมทั้งมอบนโยบายให้กับผู้บริหาร ณ ลานอาศรมศิลปกรรม สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลาศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์มากมาย อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมทางสังคม สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ นอกจากจะเน้นทางด้านนวัตกรรมทางสังคมให้เน้นเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ วิทยาเขตที่พัทลุงเน้นไปด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันคนสนใจวิทยาศาสตร์น้อยลงเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เป็นอะไรที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่ค่อยได้รู้จักและคิดทำ ปัจจุบันโลกกำลังปูทางให้ประเทศไทยมุ่งเน้นไปทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เห็นได้จากเว็บไซต์ US News and World Report ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 7 ของโลก ที่มีมรดกทางวัฒนธรรมดีที่สุดในโลก ซึ่งการจัดอันดับประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมดีที่สุดนี้ มีการประเมินจากปัจจัยต่างๆ เช่น โอกาสการเข้าถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ความดีเลิศด้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม ทั้งทั้งที่เราให้ความสนใจไม่มากเท่าที่ควรแต่การจัดอันดับกลับอยู่ในอันดับสูง น่าจะเป็นเพราะดีเอ็นเอหรือเนื้อในของคนไทยที่มีความสามารถ มีความเก่งทางด้านสร้างสรรค์ศิลปะและอารยธรรม การสร้างคุณค่าทางจิตใจและคนไทย เป็นคนที่รับเอาของดีจากนานาประเทศมาใส่ให้กับประเทศได้เสมอ อยากจะแนะนำให้มหาวิทยาลัยสนใจฟื้นฟูรักษาอารยธรรม ศิลปวัฒนธรรม สุทรียภาพของดั้งเดิมของเราซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก นำมาผสมผสานกับกระแสโลก อารยธรรมจากชาติตะวันตก และก้าวไปสู่ระดับโลก สถาบันอุดมศึกษาต้องคิดวิชาที่สามารถสื่อสารและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสุทรียภาพ อารยธรรมต่างๆ ดนตรีนาฎศิลป์และอื่นๆ ถ่ายทอดไปให้กับนิสิตนักศึกษา เพื่อให้การจัดอันดับทางด้านวัฒนธรรมสูงขึ้นไปอีก ถ้ามหาวิทยาลัยทักษิณทำเรื่องวัฒนธรรมสังคมต่อไปบวกกับประยุกต์เอาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เข้ามา จะกลายเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมาก นอกจากนี้เราต้องสามารถเชื่อมโยงกับกระแสสากลให้ได้เพื่อจะนำไปสู่ความทันต่อกระแสโลก จนประเทศไทยสามารถกลายเป็นอนาคตของโลก สำหรับทางด้านวิทยาศาสตร์ ถ้าเราสามารถเน้นไปทางด้าน วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อาทิ ai ควอนตัม แสงซินโครตรอน หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ การเปลี่ยนรูปแบบการสอนที่ไม่ใช่ฟิสิกส์เคมีชีวะเสมอไป จะทำให้ประเทศไทยก้าวกระโดดแล้วไม่จมอยู่กับวิทยาศาสตร์แบบเดินกลายเป็นวิทยาศาสตร์แห่งอนาคต ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวมอบนโยบายให้กับผู้บริหาร ม. ทักษิณ ระหว่างชมศิลปะการแสดง ณ ลานอาศรมศิลปกรรม สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา ว่า ผมมาที่นี่หลายครั้งแต่ยังไม่เคยมีโอกาสมามหาวิทยาลัยทักษิณจริงๆจังๆ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มาเยี่ยมมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และพบว่ามหาวิทยาลัยทักษิณ ทัเงวิทยาเขตพัทลุงแล้ววิทยาเขตสงขลา น่าสนใจมากและมีอะไรหลาอย่างที่เรายังไม่รู้ กระทรวง อว ในขณะนี้มุ่งเน้นในการพัฒนาประเทศชาติ เราจะไม่เพียงแค่สอน แค่ทำวิจัยเท่านั้น แต่เราจะนำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ภายในปี 2580 ครูอาจารย์หรือนักวิจัย จะไม่สอนไปเรื่อยเรื่อย วิจัยต่อไปเรื่อยๆ ทำนวัตกรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดหมายปลายทางหรือเวลาที่ชัดเจนว่าเราจะบรรลุอะไร เราจะปรับให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้และกระทรวง อว. จะต้องเป็นกระทรวงที่พัฒนาแล้วภายในปี 2570 และจะต้องเป็นกลไกสำคัญที่ใช้การได้ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เริ่มที่จะเดินไปสู่จุดหมายที่หวังเอาไว้ เพราะฉะนั้น เราเหลือเวลาอีกหกปีที่จะทำให้กระทรวง อว. สามารถเป็นกลไกสำคัญในการขยับประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น เรามีเวลาให้ประเทศชาติสังคมและรัฐบาลอีก 16 ปี แต่เรามีเวลาให้ตัวเองเพียงหกปีเท่านั้น ผมได้สั่งการและมอบนโยบายให้ผู้บริหารอว. ให้คิดเสมอว่าจะทำยังไงให้เราสามารถผลักดันงาน อว. ให้กลายเป็นกลไกสำคัญให้ได้ โดยเราจะเดินไปสองขาคือขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เราจะต้องทำให้ประชาชนชาวไทยเปลี่ยน mindset ว่าประเทศไทยจะหยุดอยู่แค่คำว่าประเทศกำลังพัฒนา เมืองไทยมีคนเก่งและคนดีจำนวนไม่น้อย ทั้งเฉพาะทางและเก่งหลากหลายทาง ซึ่งบุคคลเหล่านี่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดย อว. จะเป็นส่วนช่วยให้คนไทยเป็นคนที่เก่ง ดีและต้องมีความสามารถให้ได้ในที่สุด

อว.U2T ลงพื้นที่อุดรธานี 15 – 16 ธ.ค.นี้ ปลื้มตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน – ศูนย์ภูมิปัญญาทอผ้าพื้นเมืองพานบ้านใหม่

อว.U2T ลงพื้นที่อุดรธานี 15 – 16 ธ.ค.นี้ ปลื้มตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน – ศูนย์ภูมิปัญญาทอผ้าพื้นเมืองพานบ้านใหม่ บ้านผือพร้อมผุดโครงการท่องเที่ยวนักเล่าเรื่องราวชุมชนหรือยุวอาสาชวนเที่ยวหอนางอุสา -อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเมื่อวันที่13 ธ.ค.ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 – 16 ธ.ค.นี้ ตนพร้อมรศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว.และโฆษก อว.จะลงพื้นที่ติดตามโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T จ.อุดรธานี ในพื้นที่ ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ ที่ผู้ได้รับการจ้างงานโครงการ U2T ไปช่วยยกระดับโอทอป คือการทอผ้าพื้นบ้านเมืองพานที่มีชื่อเสียง การออกแบบลายผ้าทอกราฟฟิกและการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมืองบ้านใหม่ การแปรรูปสมุนไพรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ลูกประคบ น้ำมัน ข้าวเม่าเช็คและกล้วยฉาบและอาชีพอื่นๆ ในชุมชน เช่นการเลี้ยงหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน การผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน เป็นต้น และพัฒนาทักษะด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่ายสินค้า การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนสถาน เช่น หอนางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นต้น โดยการจัดทำโครงการท่องเที่ยวนักเล่าเรื่องราวชุมชนหรือยุวอาสา การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนและการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการทั้งหมดจะเป็นการพัฒนาตำบลบูรณาการเพื่อมุ่งสู่การเป็นตำบลที่มุ่งสู่ความพอเพียงดร.ดนุช กล่าวต่อว่า กิจกรรมที่ผู้ได้รับการจ้างลงไปทำกับชุมชน ได้ผลน่าพอใจ นอกจากเกิดการจ้างงานแล้ว ยังเป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมืองบ้านใหม่ ต.เมืองพาน เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนผ้านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เกิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นบ้าน U2T ต.เมืองพาน เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านสมนไพรต้นแบบในชุสชน ต.เมืองพาน เป็นต้น

“ดวงฤทธิ์”เลขานุการ รมว.อว.เปิดงาน Show and Share U2T “ส่งต่อความสุขและรอยยิ้มสู่ชุมชน” ที่อุดรธานี

“ดวงฤทธิ์”เลขานุการ รมว.อว.เปิดงาน Show and Share U2T “ส่งต่อความสุขและรอยยิ้มสู่ชุมชน” ที่อุดรธานี ปลื้มเกิดเงินหมุนเวียนจากการจ้างงาน U2T ทั่วประเทศมากกว่า 700 ล้านบาท เกิดโครงการใหม่มากกว่า 20,000 โครงการ หรือ 10 โครงการต่อ 1 ตำบล ชี้ปี 65 เดินหน้า U2T ระยะที่ 2 ด้าน “พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี” กรรมการ U2T เผย มรภ.อุดรจ้างงานมากสุดในประเทศ หวังผู้ได้รับการจ้างงานกลายเป็นผู้ประกอบการที่มีฝีมือและกลายเป็นผู้นำชุมชนเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และโฆษก อว. เป็นประธานเปิดงาน Show and Share U2T “ส่งต่อความสุขและรอยยิ้มสู่ชุมชน” ที่ลานกิจกรรม ศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี (มรภ.อุดรธานี) โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีการนำผลการดำเนินงานโครงการ U2T ของ มรภ.อุดรธานี ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จาก 135 ตำบลมาจัดแสดง ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานอย่างคับคั่งรศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการ U2T ได้จากงานบัณฑิต นักศึกษาและประชาชนได้สูงสุดกว่าร้อยละ 97.5 ลงไปทำงานกับชุมชนใน 3,000 ตำบลทั่วประเทศ ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนจากการจ้างงานมากกว่า 700 ล้านบาท ในการเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่เดือน ก.พ. 64 ถึงปัจจุบัน งบประมาณโครงการโดยรวมอยู่ที่ 10,629 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 7,283 ล้านบาท ที่สำคัญผู้ได้รับการจ้างงานได้ลงพื้นที่ทำโครงการร่วมกับชุมชน ทำให้เกิดโครงการใหม่ประมาณ 20,000 กว่าโครงการ หรือประมาณ 10 โครงการต่อ 1 ตำบล โดยในร้อยละ 40 จาก 20,000 โครงการ มีร้อยละ 20 เป็นโครงการที่ทำร่วมกับท้องถิ่นเกี่ยวเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชนและสตาร์ทอัพ และอีกร้อยละ 20 เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เช่น การกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย และการปรับระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่

มหกรรม U2T CPRU Fair ณ​ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (CPRU Center Point) มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ​

วันที่ 23 ธันวาคม 2564​ รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง​ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม​ พร้อมด้วย​ ดร. พัชรินรุจา จันทโรนานนท์​ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง​ ​อว.​ และ​ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง​ ​อว.​ ร่วมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมินายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ นายกเทศมนตรีเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล​ ได้เปิดงานและเข้าร่วมมหกรรม U2T CPRU Fair ณ​ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (CPRU Center Point) มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ​โดยการจัดงานในวันนี้นอกจากจะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม สู่ชุมชน และแสดงผลงานผลิตภัณฑ์แล้ว​ ยังถือเป็นการต่อยอดนวัตกรรมและองค์ความรู้ให้กับชุมชนในพื้นที่ทั้ง 60 ตำบล ของจังหวัดชัยภูมิ​ เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ได้รับชมผลงานความสำเร็จของโครงการ ​ซึ่งการเปิดงานในครั้งนี้​ รองศาสตราจารย์พิเศษ​ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง​ ได้กล่าวชื่นชมโครงการ​ U2T​ นอกจากจะมีความสำเร็จเป็นผลงานที่ได้เห็นแล้ว​ สิ่งที่ได้มากกว่านั้นคือความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม​ ที่เน้นการทำงานด้วยกันแบบรุ่นสู่รุ่น​ ก่อให้เกิดความรัก​ ความสามัคคี​ การยอมรับและเข้าใจกันมากขึ้นในตำบลและจังหวัด และมั่นใจว่าโครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยสร้างงาน​ สร้าง​รายได้​ สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนจังหวัดชัยภูมิอย่างแท้จริง

มีเฮทั่วประเทศ! ครม.อนุมัติโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” วงเงิน 3,566.28 ล้านบาท พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่

ครม.อนุมัติโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” วงเงิน 3,566.28 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ ให้ อว.นำมหาวิทยาลัย บัณฑิตจบใหม่และประชาชน กว่า 68,350 คนร่วมทีม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG 7,435 ตำบลทั่วประเทศ ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ รมว.อว.ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ ครม.ด้าน ปลัด อว.แจงจะนำ U2T for BCG ไปเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อน BCG ของประเทศไทยในการประชุมเอเปคปลายปีนี้เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ศ(พิเศษ).ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG" วงเงิน 3,566.28 ล้านบาท ตามที่ อว.เสนอ โดยโครงการ U2T for BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG ครั้งใหญ่ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัด ทุกตำบลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นระดมกำลังมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยนำองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงาน อาทิ การเกิดธุรกิจใหม่ การขยายตัวทางธุรกิจ การเติบโตของการลงทุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การเพิ่มการบริโภค เป็นต้นทั้งนี้ แต่ละตำบลจะมีมหาวิทยาลัยที่จะรับผิดชอบดูแลอย่างใกล้ชิด จะมีการนำบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ จำนวนรวม 68,350 คน เข้ามาร่วมเป็นทีม อว. ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. - ก.ย.นี้“ในฐานะ รมว.อว. ขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ให้ความไว้วางใจ อว. ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นำเอาบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่มาร่วมดำเนินงาน ทั้งยังเป็นการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นทักษะต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งขยายผลของฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ ทั้งนี้ อว. พร้อมดำเนินการโครงการ U2T for BCG เต็มที่” รมว.อว.กล่าวด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวว่า โครงการ U2T for BCG นี้ ขยายผลครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกตำบล โดยจะมีมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมโครงการมากขึ้นกว่าโครงการ U2T ที่ผ่านมา รวมทั้งมีหน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนาของ อว. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการ เป็นการขยายผลต่อจาก โครงการ "U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ" ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดย U2T for BCG นี้จะเน้นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัด ให้ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยในการรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 68,350 คน เข้ามาร่วมทำงานเป็นทีมกับ อว. และหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินการ อว.จะนำโครงการ U2T for BCG ไปเป็นตัวอย่างในการนำเสนอการขับเคลื่อน BCG ของประเทศไทยในการประชุมเอเปคปลายปีนี้ต่อไปด้วยเผยแพร่: 14 มิ.ย. 2565 14:29   ปรับปรุง: 14 มิ.ย. 2565 14:29   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

17 มิ.ย.นี้ อว.เปิดลงทะเบียนออนไลน์รับบัณฑิตจบใหม่และประชาชน 68,350 คน ร่วมโครงการ U2T for BCG ทำงาน 1 ก.ค.นี้ ใน 7,435 ตำบล

อว.เปิดลงทะเบียนออนไลน์รับบัณฑิตจบใหม่และประชาชน 68,350 คน 17 มิ.ย.นี้ ร่วมโครงการ U2T for BCG ทำงาน 1 ก.ค.นี้ ใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ “เอนก” รมว.อว.ดัน U2T for BCG โชว์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในที่ประชุมเอเปค งานใหญ่ไทยเป็นเจ้าภาพปลายปีนี้เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ประชุมมอบนโยบายโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG" หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2562 โดยจะดำเนินการในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย.นี้ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เป็นโครงการที่ทุกคนรอคอยและเป็นที่ต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง นี่คือโครงการที่ใหญ่ที่สุดของ อว. ที่จะดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกตำบล รวมทั้งทุกแขวงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะใช้เวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.- ก.ย. 65 และจะโฟกัสเรื่องเดียวคือ BCG เท่านั้น เพราะเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงไปถึงการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในรอบ 20 ปีมีครั้ง และ BCG คือหนึ่งในวาระสำคัญของการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยจะนำเสนอ ดังนั้น อว.จะนำผลงาน U2T for BCG ไปโชว์ให้กับผู้นำแต่ละประเทศได้เห็นถึงโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วย BCGรมว.อว.กล่าวต่อว่า U2T for BCG จะเป็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัยรัฐกว่า 70 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนกว่า 20 แห่ง ทำร่วมกับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่กว่า 68,350 คน ซึ่งโครงการนี้จะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า อว.เป็นคนทำ และให้เห็นภาพของรัฐบาลในการสนับสนุน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งใจที่จะผลักดันงบประมาณที่เป็นงบกลางมาให้ อว. ดำเนินโครงการนี้ ในช่วงเวลา 3 เดือน ดังนั้น 3 เดือนจากนี้เป็นต้นไป โครงการ U2T for BCG ต้องทำให้มาก ให้ดี ให้เร็วและประหยัด และจะไม่ทำซ้ำกับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่สำคัญ U2T for BCG จะทำให้ผู้ร่วมโครงการกลายเป็นคนที่สามารถ ซึ่งเกิดจากการทำงานกับผู้คนและสังคม ทำให้ได้ทั้งวิชางาน วิชาชีวิต เปลี่ยนความเก่งและดีที่มีอยู่ให้กลายเป็นความสามารถให้ได้ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวชี้แจงแนวทางการดำเนินงานว่า อว.จะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ กว่า 68,350 คน ที่ต้องการจะมาร่วมงาน เข้ามาร่วมเป็นทีม อว. โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ โดยกรอกข้อมูลผ่านระบบกลางออนไลน์ของ อว. แล้วจะเชื่อมโยงข้อมูลให้มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบแต่ละตำบลเป็นผู้คัดเลือก หลังจากนั้นจะแบ่งการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ 3 พันตำบลเดิม จำนวนตำบลละ 8 คน ขณะที่พื้นที่ 4,435 ตำบลใหม่ จำนวนตำบลละ 10 คน เพื่อทำหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน โดยจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริการ การส่งเสริมการขยายและการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ การขนส่งและกระจายสินค้า ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของโครงการฯ คาดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่ได้มาตรฐานและได้ออกสู่ตลาด มียอดขายเพิ่มขึ้นหรือการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T ได้รับความชื่นชมจากทุกภาคส่วน ไม่เพียงเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งขณะนี้จะมุ่งเน้นด้าน BCG ในพื้นที่ แต่ยังเป็นการพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG ด้วย” ปลัด อว.กล่าวขณะที่ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. อว.จะเปิดให้มีการลงทะเบียนของบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการร่วมโครงการ U2T for BCG ผ่านทางเว็บไซต์ http://u2t.ac.th ก่อนที่จะมีการกระจายกำลังลงไปทำงานในทุกตำบลต่อไปเผยแพร่: 16 มิ.ย. 2565 13:32   ปรับปรุง: 16 มิ.ย. 2565 13:32   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ขอเชิญชวนเหล่าสมาชิก U2T กับ งานเปิดตัว U2T for BCG บน เพจกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เวลา 13.00 น.

อว.และมหาวิทยาลัย สนับสนุนภารกิจระดับชาติ โดยใช้ความรู้ช่วยเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ ขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้ให้ประชาชน ยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคง พัฒนาบัณฑิตให้พร้อมเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน   เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึง ด้วยเศรษฐกิจ BCG” โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จ้างงานกว่า 68,350 คน ใน 7,435 ตำบล  77 จังหวัด ทั่วประเทศ ให้ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย • B : Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ• C : Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน• G : Green-Economy เศรษฐกิจสีเขียวบัณฑิตจะได้ใช้ความรู้ด้าน BCG  สร้าง Value Chain ให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ด้วยกระบวนการ ⚪️ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตและการบริการ⚪️ การส่งเสริมการขายและการตลาด⚪️ การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง⚪️ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์⚪️ การขนส่งและการกระจายสินค้า⚪️ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ

การแข่งขันนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่ ปี 2022 ในงาน "U2T BCG National Hackathon 2022"

การแข่งขันนวัตกรรมที่ผสานองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้าน BCG กว่า 15,000 โครงการ ทั่วประเทศ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมระดับประเทศสู่ E-Comerce ผ่าน 4 แกนหลัก Track 1: Food and Agriculture อุตสาหกรรมเกษตร และอาหารมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของเรา เป็นหนึ่งในแหล่งอาหารหลักสำหรับทุกคน มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงความเป็นอยู่ของโลก การหันมาให้ความสนใจต่อการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในด้านการเกษตรด้านอาหาร เพิ่มประสิทธิผลทางการเกษตร หันมาสนใจกับสิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตของผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาเป็นอาหารเลี้ยงปากท้อง รวมถึงสุขภาพเฉพาะบุคคล  อุตสาหกรรม และอาหาร เป็นที่พึ่งพาเทคโนโลยีและฐานข้อมูลมากกกว่าการพึ่งพิงลมฟ้าอากาศ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดการพึ่งพาสารเคมีต่าง ๆ ทำให้กลายเป็นเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ มีผลผลิตมากมายเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเลี้ยงปากท้องทุกคนได้อย่างพอเพียงTrack 2: Medical and Wellness อุตสาหกรรม การแพทย์ของโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่ามหาศาลซึ่งมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ ความต้องการของมนุษย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ การพัฒนาระบบสาธารณสุข ด้วยเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การต่อยอดที่มีอยู่อย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา แผนการแพทย์ การท่องเที่ยว การบิน และโลจิสติกส์  เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประเทศไทยรวมถึงช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างเต็มศักยภาพ และประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนTrack 3: Bioenergy, Biomaterial and Biochemical ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างมาก เนื่องจากมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่หลากหลาย มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมีที่มีความเข้มแข็ง การใช้เทคโนโลยีแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานชีวภาพ หรือ นำมาสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ทางการเกษตร พลังงานธรรมชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจึงได้รับความสนใจอย่างมากในด้านการเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความยั่งยืน รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศTrack 4: Tourism and Creative Economyอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทช่วยกระตุ้นในการนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง สามารถนำของที่อยู่ในท้องถิ่นนำมาประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน ขายเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นการนำเอาวัสดุที่เคยเห็นว่าปราศจากคุณค่ามาทำให้เกิด ประโยชน์และเพิ่มรายได้คนในชุมชนทั้งในด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของแต่ละพื้นทีควบคู่กับการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพมากมาย เป็นการเสริมด้วยอาชีพที่เกิดต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการผลิต และนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดแล้วยังเป็นการเชื่อมโยงสู่ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างยั่งยืนโดยมหาวิทยาลัยทั้ง 9 ภูมิภาค ระดมกำลัง เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมของแต่ละภูมิภาค เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การแข่งขันระดับประเทศ พบกับการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุด ในงาน U2T BCG National Hackathon 2022  ในวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ  มหกรรม วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ

U2T BCG-learning เปิดให้สมาชิกเข้าใช้งานแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป...

บทเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T💡กรกฎาคม เข้าสู่บทเรียน "คัดสรร" คือ เข้าใจและเรียนรู้ BCG ผ่าน การคิดและกระบวนการ Hackathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่งหมาย💡สิงหาคม เข้าสู่บทเรียน "พัฒนา" คือ สร้างคุณค่าสินค้าละบริการ (Value Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการ💡กันยายน เข้าสู่บทเรียน "สร้างคุณค่า" คือ การเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการ การขายและการตลาด การพัฒนา Value Chain

ขอเชิญชวนชาว U2T เข้าเรียน E-Learning ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้!

ประกาศ !!ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ชาว U2T เข้าเรียน E-Learning ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปM-01 แนวคิดและเศรษฐกิจ BCGM-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking มีด้วยกันทั้งหมด 12 EP.เข้าห้องเรียนได้ที่ https://u2t.ac.th/e-learningเรียนเสร็จแล้วอย่าลืม!! ส่งงานในแบบฟอร์ม C-01 เป็นขั้นตอนการขอเสนอโครงการ**ขั้นตอนการส่งงานรอติดตามประกาศจากเพจ U2T Online Community นะครับบ**

*แจ้งเตือน* ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG ส่งข้อเสนอโครงการใน C-01 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT

C-01 ข้อเสนอโครงการ 1. ข้อมูลผู้ประกอบการ (ชื่อ/ที่อยู่)2. ข้อมูลสินค้า/บริการ (ชื่อ/ยี่ห้อ/ลักษณะ/ประเภท)3. คุณค่าของสินค้า/บริการ (Product Preposition)4. ข้อมูลการขาย/รายได้ (ขายหรือยัง/ขายได้เท่าไหร่)5. ต้องการพัฒนาต่อหรือไม่/พัฒนาอะไร6. เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ต้องการ ภายในวันที่ 10  กรกฎาคม 2565 เวลา 24.00 น. "การส่งงานของตำบล"1. โครงการที่ส่งไม่น้อยกว่า 2 โครงการ 2. หัวหน้าโครงการ ( อาจารย์ ) เป็นผู้รับผิดชอบในการส่ง C-01

**แจ้งประกาศเพิ่มเติม** ขยายเวลาการส่งงานถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2565

ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG  ส่งข้อเสนอโครงการใน  C-01 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT C-01 ข้อเสนอโครงการ 1. ข้อมูลผู้ประกอบการ (ชื่อ/ที่อยู่)2. ข้อมูลสินค้า/บริการ (ชื่อ/ยี่ห้อ/ลักษณะ/ประเภท)3. คุณค่าของสินค้า/บริการ (Product Preposition)4. ข้อมูลการขาย/รายได้ (ขายหรือยัง/ขายได้เท่าไหร่)5. ต้องการพัฒนาต่อหรือไม่/พัฒนาอะไร6. เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ต้องการ "การส่งงานของตำบล"1. โครงการที่ส่งไม่น้อยกว่า 2 โครงการ 2. หัวหน้าโครงการ ( อาจารย์ ) เป็นผู้รับผิดชอบในการส่ง C-01ขอบคุณครับ

ขอเชิญชวน U2T for BCG เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ "การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD"

ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญชวน U2T for BCG เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ "การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD"โดยวิทยากร  : ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต(ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)วันที่ 12 กรกฎาคม  2565 เวลา 13.30 -15.00 น.Live สด ผ่าน เพจ U2T Online Community

กระบวนการการคัดเลือก U2T for BCG Hackathon 2022

คะแนนพิเศษเพื่อเข้าสู่การแข่งขัน U2T for BCG Hackathon 2022 โดยส่งไฟล์แนะนำทีมแบบสรุป ไม่เกิน 5 สไลด์ ภายใต้หัวข้อดังต่อไปนี้1. ปก ชื่อทีม หรือชื่อผลิตภัณฑ์2. ปัญหา (Problem)3. แนวทางแก้ไขปัญหา (Solution)4. คุณค่าของสินค้า/บริการ (Value Proposition)5. โมเดลธุรกิจ (Business Model)ส่งผลงานเพื่อเข้าแข่งขันใน www.u2t.ac.th•เลือก  BCG-Asignment (ส่งงาน) •เลือกกิจกรรม Hackathon •เข้าร่วมกิจกรรม•แนบไฟล์  บันทึกร่าง ส่งข้อเสนอโครงการ ส่งผลงานภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 นี้เท่านั้น เพื่อคัดเลือก ผู้เข้ารอบต่อไปDownload Template การทำ Slide เพื่อสมัคร Hackathon1. PowerPointhttps://bit.ly/3O9tGGR2. Google Slides (ต้องล็อกอินด้วย Gmail ก่อน)https://bit.ly/3azNiXb1.ปก ชื่อทีม หรือชื่อผลิตภัณฑ์ มาบ่งบอกตัวตนของพวกเรา ประกอบด้วย ปก ชื่อทีม หรือ ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการสื่อสารคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ เป็นแรงดึงดูด สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในครั้งแรก เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นรู้ว่าคุณน่าสนใจเพียงใด มีเรื่องราวอะไรจะเล่ากับทุกคนให้ได้ฟังกัน2.ปัญหา (Problem) แก้ไขปัญหาอะไร ให้ใคร คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรืออยู่ในระหว่างกระบวนการ ย่อมเป็นที่ต้องการของการบริหารจัดการคุณภาพ แต่ในสถานการณ์จริงในกระบวนการผลิตย่อมมีความบกพร่องที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เราจึงอยากรู้ว่าทุกคนจะมีวิธีกาปรับปรุงคุณภาพอย่างไร3.แนวทางแก้ไขปัญหา (Solution) ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ปัจจุบันสภาพตลาดมีการแข่งขันที่สูง และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีช่องทางในการหาข้อมูลสินค้าเพื่อทำการเปรียบเทียบคุณภาพ และราคาได้สะดวกขึ้น รวมถึงผู้บริโภคในยุคนี้มีต้องการความหลากหลายมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และยังต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาสินค้าใหม่ เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้บริโภคให้เกิดความต้องการสินค้าที่ได้พัฒนาขึ้นมา ในสภาวะการตลาดที่แข่งขันอย่างรุนแรงนี้ สินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเท่านั้นจึงจะยืนหยัดอยู่ในตลาดได้4.คุณค่าของสินค้า/บริการ (Value Proposition) สร้างคุณค่าให้ใคร อย่างไรสินค้าหรือบริการที่สามารถสร้างความประทับใจ และพึงพอใจแก่ผู้บริโภคต้องการได้ การส่งมอบคุณค่าทางด้านราคา และคุณค่าทางด้านคุณภาพ ผู้บริโภคมักต้องการของมีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้จะทำให้สินค้านั้นประสบความสำเร็จได้ สินค้าคุณภาพดีที่ผู้บริโภคยอมรับได้ ก็จะเป็นการส่งมอบคุณค่าที่ดีแก่ผู้บริโภค5.โมเดลธุรกิจ (Business Model) อธิบายโมเดลธุรกิจคร่าวๆ แบบจำลองธุรกิจว่า ธุรกิจของเราจะให้บริการหรือขายอะไร ขายให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ผลิตด้วยอะไร ใครมาช่วยผลิต และมีรายได้ค่าใช้จ่ายอย่างไร รวมถึงมีกำไรจากการให้บริการ และสินค้าตัวไหนบ้าง โดยสามารถนำโมเดลธุรกิจมาปรับปรุงให้ดีขึ้น คิดให้เป็นภาพรวมมากขึ้น

ประกาศสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG

การส่งงานเพื่อเข้าแข่งขัน Hackathon 2022  สามารถส่งงานใน BCG-ASSIGNMENT (C-01) ในส่วนที่ 9   โดยเลือก  ✅️สนใจเข้าร่วม✴️พร้อมแนบไฟล์ ที่ประกอบด้วย 5 หัวข้อ 👉1. ปก ชื่อทีม หรือชื่อผลิตภัณฑ์👉2. ปัญหา (Problem)👉3. แนวทางแก้ไขปัญหา (Solution)👉4. คุณค่าของสินค้า/บริการ (Value Proposition)👉5. โมเดลธุรกิจ (Business Model)ภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ** กรณี ผู้ที่ส่ง C-01 อนุมัติเรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปเพิ่มไฟล์การแข่งขัน  Hackathon ได้ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป 

ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ชาว U2T เข้าเรียน E-Learning วิชา M-03 และ M-04

M-03 โมเดลธุรกิจ Business Model CanvasM-04 เร่งการเติบโต Growth Hacking มีจำนวนทั้งหมด 6 EP.เข้าห้องเรียนได้ที่ https://u2t.ac.th/e-learning💥เรียนเสร็จแล้วอย่าลืม!! 💥ส่งงานในแบบฟอร์ม C-02 แผนธุรกิจ ให้หัวหน้าโครงการ (อาจารย์)

ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG ส่งแผนธุรกิจใน C-02 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT

C-02 แผนธุรกิจ 1. แผนธุรกิจ2. ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าในธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ3. การสร้างรายได้ของธุรกิจ4. ช่องทางการจัดจำหน่าย 5. สินค้าและราคา 

U2T for BCG Business Model

การออกแบบโมเดลธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการทำงานอย่างมีทิศทาง  BCG ECONOMY จึงจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในการออกแบบโมเดลธุรกิจเป็นอย่างดี จึงขอเชิญชวนเพื่อนๆ สมาชิก  U2T for BCG เข้าเรียน E-Learning วิชา M-03 และ M-04👉M-03 โมเดลธุรกิจ Business Model Canvas👉M-04 เร่งการเติบโต Growth Hacking เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในกามรวางแผนและการออกแบบโมเดลธุรกิจเข้าห้องเรียนได้ที่ https://u2t.ac.th/e-learning💥เรียนเสร็จแล้วอย่าลืม!! 💥ส่งงานในแบบฟอร์ม C-02 แผนธุรกิจ ให้หัวหน้าโครงการ (อาจารย์)

U2T for BCG Presentation

ในปัจจุบันนี้เราปฏิเสธไม่ได้แล้ว ว่าในทุกๆอาชีพ ทุกๆงาน มันมีการนำเสนอซ้อนอยู่  ซึ่งการนำเสนอหรือว่า Presentation นั้น เรียกว่าเป็นหัวใจหลักในการที่เราจะขายไอเดีย ในคลาสนี้ Presentation tips เป็นการสอนเทคนิคในการนำเสนองานไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำสไลต์ จนไปถึงการพูดเพื่อนำเสนอ เทคนิคต่างๆเหล่านี้ จะช่วยให้การนำเสนอของคุณสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแอม ชญาน์นัทช์ ไชยวัฒนพงศ์Communication Coachเรียนรู้เทคนิคในการทำ  Presentation tips ได้ที่  www.u2t.ac.th  หน้า BCG - Learning

ประกาศ สป.อว. ขอเชิญมหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการ เข้าประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการ Hackathon 2022

สป.อว. ขอเชิญมหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการ เข้าประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการ Hackathon 2022 ภายใต้โครงการ U2T for BCGในวันพุธที่ 20/07/65  เวลา 14.00 - 16.00 น.ผ่านระบบ Zoom Meetingผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าชมได้ที่ Facebook Page : U2T Online Community 

U2T for BCH HACKATHON 2022

การสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Hackathon ของผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG โดยการส่งสไลด์นำเสนอโครงการ 5 หน้าซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนหน้าจะทำหน้าที่เป็นผู้คัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบสู่ Hackathon จังหวัดละ 4 ทีม ทีมละ 1 แกนหลัก จนได้ผู้เข้ารอบจากทั่วประเทศทั้งหมด 308 ทีม เพื่อเข้าสู่รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค (Regional Hackathon) และการแข่งขันรอบสุดท้ายภายในงาน National Hackathon เพื่อค้นหาสุดยอด 4 ทีมผู้ชนะระดับประเทศต่อไป สำหรับทีมตำบลที่ไม่ได้กดเข้าร่วมใน C-01 มีความประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม  ส่งข้อมูลได้ที่ https://forms.gle/qhgn9Hw9ZsK4w5ZH6พร้อมแนบไฟล์ Presentation Slide เพื่อสมัคร Hackathonย้ำกันอีกครั้ง ***ส่งสไลด์นำเสนอโครงการได้ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 12.00 น.

แจ้งเตือน กิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG HACKATHON 2022

แจ้งเตือน  !! เหลือเวลาอีก 2 วัน กับการส่งสไลด์นำเสนอโครงการ 5 หน้า ในกิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG HACKATHON 2022 ส่งสไลด์นำเสนอโครงการได้ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 12.00 น. เท่านั้นผ่านทาง https://forms.gle/qhgn9Hw9ZsK4w5ZH6 ทีมไหนยังไม่ได้เข้าร่วม  รีบส่งได้เลยนะครับ 

ประกาศ ขอเชิญชวน สมาชิก U2T for BCG เข้าเล่นกิจกรรมพิเศษ 1 สร้างสรรค์ให้โดนใจคณะกรรมการ ในรูปแบบคลิปวิดีโอ

กติกา- นำเสนอตำบลของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ภายใน 1 นาที- โพสต์ลงทั้ง 3 ช่องทาง Facebook , IG และ Tiktok ใส่ Hashtag#U2TforBCG#สานฝันต่อยอดความคิดพลิกเศรษฐกิจตำบล#U2TWeeklyChallenge#Showstepstyletambonการตัดสิน1. รางวัลโดนใจคณะกรรมการ จำนวน 3  ทีม : กรรมการเป็นผู้ตัดสิน2. รางวัลโดนใจมวลชล จำนวน 1 ทีม: นับจากการกดไลค์+แชร์เยอะที่สุด เกณฑ์- ทำตามกติกา + hashtag ครบ- ผู้ชนะ 3 ทีม : คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสิน (สิทธ์เป็นของคณะกรรมการเท่านั้น)- รางวัลขวัญใจมวลชน  : นับจาก  การ ไลค์+แชร์ บน Facebook เท่านั้น กิจกรรมพิเศษ 1 เริ่มต้นวันที่ 18 ก.ค. - 29 ก.ค. ภายในเวลา 22.00 น.ประกาศ ผู้ชนะ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ติดตามกิจกรรมได้ใน Facebook เพจ U2T Online Community

ประกาศ กิจกรรมพิเศษ เหลือเวลา 1 สัปดาห์ (7 วัน)

กิจกรรมพิเศษ 1 "Show step ,Style Tambon"กิจกรรมพรีเซ้นต์ตำบลของตนเอง ในรูปแบบ VDO ไม่ว่าจะเป็นสินค้า นวัตกรรม สถานที่ท่องเที่ยว  ของดีของตำบล หรือรูปแบบอื่นๆ ที่ทีมตำบล สามารถสร้างสรรค์ให้โดนใจคณะกรรมการ ในรูปแบบคลิปวิดีโอกติกา- นำเสนอตำบลของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ภายใน 1 นาที- โพสต์ลงทั้ง 3 ช่องทาง Facebook (กรณีเฟสบุค แนบลิ้งด้วยนะครับ), IG และ Tiktok ใส่ Hashtag#U2TforBCG#สานฝันต่อยอดความคิดพลิกเศรษฐกิจตำบล#U2TWeeklyChallenge#Showstepstyletambonการตัดสิน1. รางวัลโดนใจคณะกรรมการ จำนวน 3  ทีม : กรรมการเป็นผู้ตัดสิน2. รางวัลโดนใจมวลชล จำนวน 1 ทีม: นับจากการกดไลค์+แชร์เยอะที่สุด เกณฑ์- ทำตามกติกา + hashtag ครบ- ผู้ชนะ 3 ทีม : คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสิน (สิทธ์เป็นของคณะกรรมการเท่านั้น)- รางวัลขวัญใจมวลชน  : นับจาก  การ ไลค์+แชร์ บน Facebook เท่านั้น กิจกรรมพิเศษ 1 เริ่มต้นวันที่ 18 ก.ค. - 29 ก.ค. ภายในเวลา 22.00 น.ประกาศ ผู้ชนะ วันที่ 1 สิงหาคม 2565

ขอเชิญชวน สมาชิก U2T for BCG ร่วมลุ้นผู้เข้ารอบ Audition Hackathon 2022

ขอเชิญชวน  สมาชิก U2T for BCG ร่วมลุ้นไปด้วยกันว่า  ทีมไหน ตำบลไหน จะเป็นผู้เข้ารอบ Audition Hackathon 2022 จำนวน 308 ทีม ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ขอแรงเชียร์  เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมตำบล มาลุ้นไปด้วยกันนะครับ 

เเจ้งผู้สมัครการแข่งขันกิจกรรม U2T for BCG Hackathon 2022

ประกาศเเจ้งผู้สมัครการแข่งขันกิจกรรม U2T for BCG Hackathon 2022 จะประกาศผู้เข้ารอบ Audition  Hackathon ระดับจังหวัด 308 ทีม ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 โปรดรอติดตามขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ 

ประกาศขอเชิญชวนเพื่อนๆ ชาว U2T เข้าเรียน E-Learning เพื่อเรียนหลักสูตรพัฒนา และหลักสูตรสร้างคุณค่า

ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ชาว U2T เข้าเรียน E-Learning เพื่อเรียนหลักสูตรพัฒนา และหลักสูตรสร้างคุณค่า ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป  หลักสูตรพัฒนาM-05 : ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์M-06 : วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์M-07 : ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจM-08 : การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโตหลักสูตร สร้างคุณค่า M-09  : อี คอมเมิร์ซ101/กลยุทธ์ราคาM-10 : การขนส่งและซัพพลายเชนM-11 : การตลาดออนไลน์ /ไลฟ์สดขายสินค้า M-12 : แนวโน้มธุรกิจและเครื่องมือจัดการสมัยใหม่เข้าห้องเรียนได้ที่ https://u2t.ac.th/e-learning💥เรียนเสร็จแล้วอย่าลืม!! 💥ส่งงานในแบบฟอร์ม C-03 ให้หัวหน้าโครงการ (อาจารย์)

8 กิจกรรมความสำเร็จสำคัญ U2T WEEKS

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ขอเชิญชวนเหล่าสมาชิก U2T ติดตามและเข้าร่วมกิจกรรม 8 กิจกรรมความสำเร็จสำคัญ ( U2T WEEKS )8 กิจกรรมความสำเร็จสำคัญ (U2T WEEKS) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ผ่านการทำงานกับผู้คนและสังคม ทำให้ได้ทั้งวิชางาน วิชาชีวิต เปลี่ยนความเก่งให้กลายเป็นความสามารถ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วย 8 กิจกรรมความสำเร็จสำคัญ  ซึ่งประกอบไปด้วย  25-29 ก.ค. (1 week)สัปดาห์แห่ง BCG รอบที่ 1 คัดสรร: สินค้าและบริการ BCG ที่จะถูกขับเคลื่อนใน U2T15-19 ส.ค.(1 week)สัปดาห์แห่งวิทยาศาสตร์ไทย: Hackathon โครงการ BCG Champion ระดับประเทศ 8-12 ส.ค.(1 week)สัปดาห์แห่งการทำความดีเพื่อแม่: กิจกรรมแทนคุณแม่15-19 ส.ค.(1 week)สัปดาห์แห่งวิทยาศาสตร์ไทย: Hackathon โครงการ BCG Champion ระดับประเทศ 22-26 ส.ค.,29 ส.ค.- 2 ก.ย.(2 week)สัปดาห์แห่ง BCGรอบที่ 2 พัฒนาและสร้างคุณค่า: การพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ BCG5-9 ก.ย.(1 week)สัปดาห์แห่งพลเมืองคุณภาพ: คุณสมบัติพลเมืองดี, จำนวนคนผ่านการทดสอบ12-16 ก.ย.(1 week)สัปดาห์แห่งการใช้ประโยชน์ วทน. สำหรับ BCG: การถ่ายทอดเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สำหรับพื้นที่ตำบลและชุมชน 19-23 ก.ย.,26-30 ก.ย.(2 week)สัปดาห์แห่งชัยชนะ U2T for BCG: ยอดขายสินค้าและบริการ,ลดความยากจน,ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงขอเชิญชวนเหล่าสมาชิก U2T  ติดตาม และ เข้าร่วมกิจกรรม 8 กิจกรรมสำเร็จสำคัญ บอกเหล่าเรื่องราวกิจกรรมผ่านข้อมูล รูปภาพ หรือคลิปวิดีโออย่างสร้างสรรค์  เพื่อพัฒนาทักษะด้วยองค์ความรู้  เป็นผลให้เกิดความสำเร็จผ่านโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T

เข้าศึกษา M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ  ผ่าน Inspiration Talk โดยคุณชารีย์ บุญญวินิจ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และฟังเคล็ดลับทางธุรกิจ bcg ว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร สามารถเข้ารับฟังได้ที่ www.u2t.ac.thเลือก BCG - Learning  M-07

"กิจกรรมเตรียมความพร้อม" พิเศษสำหรับ 297 ทีมที่เข้ารอบการแข่งขัน U2T for BCG Hackathon ระดับภูมิภาค

พบกับพี่แอม ชญาน์นัทช์ และพี่โต๊ต วริศร กับเทคนิคการนำเสนอ (Pitching) ภายใน 5 นาที และเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้สอบถามคำถามเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานได้ไม่ยั้ง👈🏼ล็อคเวลาไว้ได้เลย วันพฤหัสที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 น. - 18.00 น.ซึ่งทีมผู้เข้ารอบ สามารถส่งตัวแทนทีมละ 2 ท่าน เข้าได้ลิ้งค์ซูมที่ทีมงานจะส่งให้อีเมลให้ภายในช่วงเย็นนี้คร**หากทีมใดที่ไม่ได้รับอีเมล สามารถสอบถามได้ผ่าน Line Official U2T Hackathon : https://lin.ee/A2AFUg0รบกวนให้ทุกทีม ศึกษาวิดิโอ เรื่อง Presentation Tips  แล้วเตรียมคำถามให้พร้อม และมาคุยกับพี่ๆ ได้พรุ่งนี้เลยครับ

เรียนผู้เข้ารอบ hackathon

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ กรุณาเช็ค E-mailเพื่อรับข่าวสารรายละเอียดการแข่งขัน Regional Hackathon  อย่าลืมเช็คใน Junk mail และสแกน OR CODE เพื่อเข้ากลุ่มไลน์ภูมิภาค

สัปดาห์แห่งการใช้ประโยชน์ข้อมูล TCD

Thailand Community Data หรือ TCD เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผน การบริหารจัดการ ทั้งยังเป็นการวางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีให้สอดคล้องกับเขตระเบียงเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ โดยอาศัยกลไกของพื้นที่และสถาบันอุดมศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในการร่วมขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมจึงขอเชิญชวน  สมาชิก U2T for BCG ทุกท่าน ร่วมเเชร์ข้อมูล ร่วมเเชร์เรื่องราว ตำบลของตนเองอย่างสร้างสรรค์  ผ่านข้อความและรูปภาพประกอบ  ใน 10 กลุ่มปัจจัยการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย 1.ภูมิปัญญาท้องถิ่น2.เกษตรกรในท้องถิ่น3.พืชในท้องถิ่น4.สัตว์ในท้องถิ่น 5.แหล่งน้ำในท้องถิ่น6.ร้านอาหารในท้องถิ่น7.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น8.ที่พัก/โรงแรม9.แหล่งท่องเที่ยว10.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิดเลือกหัวข้อที่สนใจนำเสนอเพื่อให้ตำบลอื่นๆได้รู้จักตำบลของตนเองใน Facebook Page : U2T Online Community    https://www.facebook.com/101435608727081/posts/pfbid02bC8sRUmxKtNaf3B7BoeJfwhDn5Gk54rPeuoEJzSqiBVkkQwnzj23m7MhVgAuD94Fl/มาร่วมแชร์เรื่องราวที่ภูมิใจนำเสนอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำบลของท่าน ร่วมแชร์ข้อมูลดีๆต่อกันนะครับ  U2T Online Community ขอบคุณครับ

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T เข้าศึกษา M-07

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T เข้าศึกษา M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ  ผ่าน Inspiration Talk โดยคุณทยิดา อุนบูรณะวรรณ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจว่าศิลปะกับผ้าบาติกมาอยู่ด้วยกันได้อย่างไรสามารถเข้ารับฟังได้ที่ www.u2t.ac.thเลือก BCG - Learning  M-07

กิจกรรมพิเศษ 2 “FULL TEAM CHALLENGE”

กิจกรรมถ่ายรูปสมาชิกทีมตำบลอย่างสร้างสรรค์  สนุกสนาน ดูเป็นทีม พร้อมแคปชั่นที่บ่งบอกถึงสมาชิกทีมตำบลตนเองให้โดนใจคณะกรรมการ และโดนใจมวลชน  ครีเอทรูปสมาชิกทีมได้เต็มที่!!! รับไปเลย แก้วและหมวกสุดพิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร สำหรับผู้ที่ชนะรางวัลกิจกรรมพิเศษเท่านั้น บนช่องทาง -Facebook,Instagram และ Tiktokพร้อม # (hashtag)#U2TforBCG#U2TWeeklyChallenge#Fullteamchallengeกติกา1 ถ่ายรูปสมาชิกทีมตำบลแบบสร้างสรรค์ ครีเอท ดูเป็นทีม2 โพสท์ลง facebook Instagram Tiktok ของตัวเอง/ตำบล พร้อมใส่ # ให้ครบ (ห้ามขาด)3 เมื่อโพสท์ในช่องทางของตนเองเรียบร้อยแล้ว รวมลิ้งทั้ง 3 ช่องทางใต้คอมเม้นโพสท์นี้ (จะนับคะแนนจากทีมที่แจ้งใต้โพสต์นี้เท่านั้น)เกณฑ์ตัดสิน- ทำตามกติกา + hashtag ครบ- ผู้ชนะ 3 ทีม : คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสิน (สิทธ์เป็นของคณะกรรมการเท่านั้น)- รางวัลขวัญใจมวลชน  : นับจาก  การ ไลค์+แชร์ บน Facebook เท่านั้น การตัดสิน1. รางวัลโดนใจคณะกรรมการ จำนวน 3  ทีม : กรรมการเป็นผู้ตัดสิน2. รางวัลโดนใจมวลชล : นับจากการกดไลค์+แชร์เยอะที่สุด กิจกรรมพิเศษ 2 เริ่มต้นวันที่ 8 ส.ค. - 19 ส.ค. ภายในเวลา 18.00 น. ประกาศ ผู้ชนะ วันที่ 22 สิงหาคม 2565 

แจ้งเตือน ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG

ส่งแผนการพัฒนาสินค้า/บริการใน C-03 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT C-03 แผนการพัฒนาสินค้า/บริการ1.พัฒนาอะไรบ้าง(ออกแบบ/คุณภาพ/มาตราฐาน)2.เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ใช้3.ใช้เวลาพัฒนาจนพร้อมขายภายในกี่เดือน4.ใช้งบประมาณเท่าไหร่ส่งและอนุมัติภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 "การส่งงานของตำบล"ตัวแทนตำบลเป็นผู้ส่งงานและอาจารย์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเพื่ออนุมัติ

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T for BCG เข้าเรียนหลักสูตรธุรกิจ Start-up (M-08)

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือเทคโนโลยีรายใหม่ (Start-up) ซึ่งจะประกอบด้วย-การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ Start-up-ความหมายของคำว่า Start-upอยากเป็น Start-up ต้องเริ่มต้นตรงไหน ต้องทำอะไบ้าง แต่ละหัวข้อจะสอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Start-up แนวหน้าของประเทศไทยที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน Startup Thailand

U2T for BCG Hackathon 2022

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T for BCG  ติดตามกิจกรรมการเเข่งขัน Hackathon 2022 เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมระดับประเทศโดยวันที่  19 - 20 สิงหาคม กิจกรรมเตรียมความพร้อม21 สิงหาคม กิจกรรมนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศที่ ชั้น 5 THE MITR-TING ROOM สามย่านมิตรทาวน์ 8.00 - 17.00 น. กิจกรรมนำเสนอผลงาน19.00 น. ประกาศผลผู้ชนะและพิธีมอบรางวัลติดตามการถ่ายทอดสดได้ทางช่องทางFacebook U2T Online Community

ใกล้เข้ามาแล้วกับกิจกรรม National Hackathon 2022

ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 5ห้อง THE MITR-TING ROOM SAMYAN MITRTOWNมาทำความรู้จักกับคณะกรรมการทั้ง 5 ท่านได้ภายในงาน National Hackathon 20221.คุณนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)2.ผู้เชี่ยวชาญ พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณีหัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)3.คุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์CEO & DIRECTOR บริษัท ไนส์คอร์ป เอส.อี. จำกัด4.คุณเข็มอัปสร สิริสุขะนักแสดงและนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม5.คุณอมรพล หุวะนันทน์CEO & Co-Founder MORELOOPรางวัลสำหรับผู้ชนะแต่ละ Track มูลค่ารวมเงินรางวัลกว่า 400,000 บาท

Inspiration talk

เริ่มได้ยินหลายคนพูดว่า BCG เป็นเทรนด์ที่ทุกคนต้องหันมาทำ  แต่จริงๆการเดินแนวทางนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำให้ธุรกิจเปรี้ยงปร้างได้เลย นี้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งคุณจะต้องอยู่กับมันด้วยความรักและความเข้าใจ นี่ถึงจะเป็น Key success ที่จะบอกลูกค้าได้ว่าเราทำสิ่งนี้ และสร้างคุณค่าอะไรให้กับโลกใบนี้   Cr.คุณณวิลาสินี ชูรัตน์

ประกาศ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG

สามารถเข้าส่งงานC-04 รายงานการพัฒนาสินค้า/บริการ ได้ใน www.u2t.ac.th เลือกหน้า  BCG-Assignmentภายในวันที่ 10 กันยายน 65C-04 ประกอบไปด้วย  1.% ความคืบหน้าโดยรวม2.รายละเอียดความคืบหน้า (ออกแบบ/คุณภาพ/มาตรฐาน)3.กิจกรรมที่ดำเนินการ (ถ่ายทอดเทคโนโลยี ฯลฯ)4.ปัญหา/อุปสรรค"การส่งงานของตำบล"ตัวแทนตำบลเป็นผู้ส่งงานและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้อนุมัติ

ขอเชิญชวนสมาชิก U2T for BCG ร่วมทำ "กิจกรรม U2T for BCG Learning 2022"

"ทำแบบประเมินความเข้าใจและความพึงพอใจ" ลุ้นรับรางวัล1.Ipad mini6 จำนวน 1 รางวัล2.หนังสือนวัตกรรม จำนวน 200 รางวัล3.แก้วเก็บความเย็น จำนวน 200 รางวัล4.หมวก จำนวน 400 รางวัล5.กระเป๋าผ้า จำนวน 1,400 รางวัลกติกาลุ้นรับรางวัล1.รางวัลใหญ่ Ipad mini 6   -สุ่มเลือกผู้โชคดี 1 คน จากสมาชิกในทีมตำบล ที่สมาชิกทุกคนทำแบบประเมินครบ#สุ่มหาผู้โชคดี 1 ครั้ง หลังหมดเวลาทำแบบประเมินในวันที่ 20 ก.ย. 25652.รางวัลอื่นๆ  -สุ่มเลือก 200 ทีม จากทีมตำบล ที่มีสมาชิกในทีมทำแบบประเมิน#สุ่มหาผู้โชคดี 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะหาทีมผู้โชคดี จำนวน 50 ทีมหลังจากได้รับของรางวัลแล้วให้ทีมตำบล ถ่ายภาพ หรือคลิปลง Tiktokหรือ facebook ร่วมกับของรางวัล บนช่องทาง -Facebook,Instagram และ Tiktokพร้อม # (hashtag)#U2TforBCG #BCGLearningโดย "ขยายเวลาการทำแบบประเมินภายในวันที่ 20 กันยายน 2565" ผ่านทางเว็บไซต์www.u2t.ac.th เลือก BCG-Learning**หมายเหตุ** สามารถทำแบบประเมินได้เพียงครั้งเดียว โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อน "ยืนยันส่งข้อมูล" **การทำแบบประเมินไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทน

สัปดาห์แห่ง BCG พัฒนาและสร้างคุณค่า

U2T Online Community   ขอเชิญชวนสมาชิก U2T for BCG  ร่วมโปรโมทสินค้าและบริการของตำบลตนเอง ที่ตอบโจทย์ด้าน BCG  นำเสนอสินค้าและบริการ  พร้อมบอกถึงการพัฒนาของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการ เป็นที่น่าสนใจ ติดตามข่าวสารกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/101435608727081/posts/pfbid02SjU673AEiEg86MmRfvXpuprGWFPoaNrmbRhTQFuRyKAmVKbnKda7vzBiZ6hmyk9Gl/

เชิญชวน สมาชิก U2T เข้าศึกษาหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ

เชิญชวน สมาชิก U2T เข้าศึกษาหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ “เพื่อพิชิตภารกิจ ECT Week ระหว่างวันที่ 5-9 ก.ย. 2565” โดยสมาชิก u2t for bcg สามารถดาวน์โหลดแอปเพื่อเข้าร่วมหลักสูตร รองรับทั้งระบบ  Android และ IOS หรือ สมัครผ่าน www.u2t.ac.th เลือก BCG-LEARNING เลือกพลเมืองคุณภาพ  และช่องทางFacebook ตามขั้นตอนภาพที่อยู่ด้านล่าง

ใกล้เข้ามาแล้ว!!! การขับเคลื่อนกิจกรรม “ECT WEEK”

พิชิตภารกิจขั้นที่ 2 ลงพื้นที่ 5 วัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานผลผ่าน Facebook “U2T For BCG Online Community”  ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักของ U2T หรือประชาชนทั่วไป ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน2565 โดยดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างพลเมืองคุณภาพ* * *  ชี้แจง U2T เพิ่มเติมในการพิชิตภารกิจ ECT WEEK       1. การดำเนินกิจกรรม ECT WEEK ให้ดำเนินการโดยสามารถสอดแทรกร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ U2T ต้องดำเนินการในภารกิจอื่น ๆ        2. การสำรวจข้อมูลเพื่อทำภารกิจแต่ละวัน (5-6 ก.ย. 2565) ให้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คน แล้วนำมาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน       3. หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามภารกิจของแต่ละวันเนื่องจากติดภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมาย ให้สามารถสำรวจข้อมูลทั้ง 5 ใบงาน ได้ตามความเหมาะสม เช่น ดำเนินการ 5 ใบงาน ในวันที่ 6 ก.ย. 2565 กับประชาชน 5 คน  วันต่อๆ ไปก็ดำเนินการทั้ง 5 ใบงาน กับประชาชนอีกกี่คน  ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม       4. การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือ           4.1 ใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ep จาก application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (16 ข้อ) จะได้รับใบ Certificate            4.2 รายงานสรุปผลการลงพื้นที่ : เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK ตามข้อ 3. เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล) โดยขอให้ U2T for BCG  จัดเตรียมแบบฟอร์มต่างๆเพื่อดำเนินการ (ทางด้านกศน.ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้) ภายในวันที่ 18 กันยายน 2565

Loading...